วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

หลักสูตรกว้าง


หลักสูตรกว้าง




        หลักสูตรหมวดวิชาหรือหลักสูตรแบบกว้าง (Broad -Field Curriculum)เป็นหลักสูตรที่พยายามจะแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจาหลักสูตรเนื้อหาวิชา ซึ่งขาดการผสมผสานความรู้ เป็นหลักสูตรที่กำหนด เนื้อหาวิชาไว้กว้างๆโดยนำความรู้ในกลุ่มวิชามาผสมผสานเป็นหมวดเดียวกันประเทศไทยได้นำหลักสูตรแบบหมวดวิชามาใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2503 โดยเรียงลำดับเนื้อหาต่าง ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันเข้าไว้ในหลักสูตร และให้ชื่อวิชาเสียใหม่ให้มีความหมายกว้าง ครอบคลุมวิชาที่นำมาเรียงลำดับไว้(ธำรง บัวศรี, 2542:182)1.แนวคิดของหลักสูตรหมวดวิชาการจัดหลักสูตรแบบหมวดวิชา เกิดจากแนวคิดที่ว่า วิชาแต่ละวิชาจะช่วยส่งเสริมการเรียนในวิชาอื่นๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าวิชาแต่ละวิชามีคุณค่าต่อกัน บุคคลที่เข้ามาศึกษาหาความรู้นั้นควรจะได้รับรู้วิชาต่างๆ ที่หลากหลาย และสามารถนำวิชาเหล่านั้นมาประสานสัมพันธ์กันในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะในชีวิตจริงของคนเรานั้นมิได้ใช้ความรู้จากวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะใช้ความรู้หลายๆ ด้านผสมกลมกลืนกันไป ดังนั้นการที่จะให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงจะต้องให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการประสานสัมพันธ์ความรู้ในวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน การจัดหลักสูตรแบบหมวดวิชาจึงได้เกิดขึ้น
ลักษณะของหลักสูตรหมวดวิชา
        จากแนวคิดในการจัดหลักสูตรหมวดวิชาดังได้กล่าวแล้ว ส่งผลให้หลักสูตรหมวดวิชานี้มีจุดเน้นที่การสัมพันธ์วิชาต่างๆ และเป็นการจัดความรู้เพื่อให้เรียนสะดวกขึ้น มีขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งสามารถสรุปเป็นลักษณะสำคัญของหลักสูตรหมวดวิชาได้ดังนี้
        2.1 เป็นหลักสูตรที่ยังคงเน้นความรู้เป็นสำคัญ รวมทั้งการเน้นการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน
        2.2 จุดหมายของหลักสูตรมีขอบข่ายครอบคลุมไปถึงพื้นฐานของการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเช่น ในหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2503ซึ่งเป็นหลักสูตรในลักษณะหลักสูตรหมวดวิชาได้กำหนดสาระให้ครอบคลุมการฝึกอบรมเพื่อให้นำไปสู่คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการตระหนักในตนเอง การมีมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถในการครองชีพ และความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง เป็นต้น
        2.3 จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชา
ต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้ ตัวอย่างเช่น ในหมวดวิชาสังคมศึกษาของหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503ซึ่งประกอบด้วยวิชาศีลธรรม หน้าที่พลเมือง ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ได้กำหนดจุดประสงค์ของหมวดวิชาให้ครอบคลุมวิชาทั้ง 4วิชาดังตัวอย่างจุดมุ่งหมายในข้อ 2คือ“ให้เด็กมีความรู้และรู้สึกซาบซึ้งในความเป็นมาในทางการเมืองของสังคมและทางวัฒนธรรม ซึ่งได้สร้างสมกันมาตามประวัติศาสตร์” เป็นต้น
        2.4 โครงสร้างของหลักสูตร มีลักษณะเป็นการนำเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันโดยไม่มีการผสมผสานแต่อย่างใด
        2.5การจัดการเรียนการสอนยังคงเน้นครูเป็นศูนย์กลาง
        2.6 การวัดผลและประเมินผล เป็นการวัดด้านสติปัญญาความรู้ และความจำ
ข้อดีข้อเสียของหลักสูตรกว้าง
        ข้อดี
        - เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมีความสัมพันธ์กัน ดีมากยิ่งขึ้น
        - ในการสอน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเข้าใจและมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
        - เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
        ข้อเสีย
        - ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เข้าทำนองรู้รอบมากกว่ารู้สึก
        - การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น