วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551

หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ทำไมต้องเรียนภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ   นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม  ประเพณี  และสุนทรียภาพ   เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้  อนุรักษ์  และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
เรียนรู้อะไรในภาษาไทย
 ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง
·       การอ่าน  การอ่านออกเสียงคำ  ประโยค   การอ่านบทร้อยแก้ว   คำประพันธ์ชนิดต่างๆ   การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ  และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน   เพื่อนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
·       การเขียน  การเขียนสะกดตามอักขรวิธี   การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆ ของการเขียน  ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ  ย่อความ  รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์  และเขียนเชิงสร้างสรรค์
·       การฟัง การดู และการพูด  การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ  การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก   พูดลำดับเรื่องราวต่างๆ   อย่างเป็นเหตุเป็นผล   การพูดในโอกาสต่างๆ  ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
·       หลักการใช้ภาษาไทย  ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย  การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล  การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
·       วรรณคดีและวรรณกรรม      วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด คุณค่าของงานประพันธ์  และความเพลิดเพลิน  การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่  บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย   ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  ค่านิยม  ขนบธรรมเนียมประเพณี   เรื่องราวของสังคมในอดีต   และความงดงามของภาษา   เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจ      ในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑    การอ่าน

มาตรฐาน  ท ๑.๑    ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน    

สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.       ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                 

สาระที่ ๓    การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท ๓.๑     สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน  ท ๔.    เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ    

สาระที่ ๕    วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน  ท ๕.    เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง


คุณภาพผู้เรียน
          จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
·       อ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจอง ข้อความ  เรื่องสั้นๆ  และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกต้องคล่องแคล่ว  เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน  ตั้งคำถามเชิงเหตุผล  ลำดับเหตุการณ์  คาดคะเนเหตุการณ์   สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน  ปฏิบัติตามคำสั่ง  คำอธิบายจากเรื่องที่อ่านได้   เข้าใจความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ   แผนที่  และแผนภูมิ    อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ   และ     มีมารยาทในการอ่าน
·       มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนบรรยาย  บันทึกประจำวัน  เขียนจดหมายลาครู   เขียนเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์  เขียนเรื่องตามจินตนาการและมีมารยาทในการเขียน
·       เล่ารายละเอียดและบอกสาระสำคัญ   ตั้งคำถาม   ตอบคำถาม   รวมทั้งพูดแสดงความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารเล่าประสบการณ์และพูดแนะนำ   หรือพูดเชิญชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม  และมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
·       สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ   ความแตกต่างของคำและพยางค์   หน้าที่ของคำ  ในประโยค   มีทักษะการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคำ   แต่งประโยคง่ายๆ   แต่ง     คำคล้องจอง  แต่งคำขวัญ  และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
·       เข้าใจและสามารถสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีที่อ่าน รู้จักเพลงพื้นบ้าน  เพลงกล่อมเด็ก   ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรอง         ที่มีคุณค่าตามความสนใจได้
          จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
·       อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง   อธิบายความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ  ประโยค  ข้อความ  สำนวนโวหาร  จากเรื่องที่อ่าน   เข้าใจคำแนะนำ  คำอธิบายในคู่มือต่างๆ  แยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง    รวมทั้งจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้          มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน   และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน
·       มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด   เขียนสะกดคำ  แต่งประโยคและเขียนข้อความ   ตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม   ใช้แผนภาพ  โครงเรื่องและแผนภาพความคิด  เพื่อพัฒนางานเขียน  เขียนเรียงความ  ย่อความ  จดหมายส่วนตัว  กรอกแบบรายการต่างๆ   เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น  เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์  และมีมารยาทในการเขียน
·       พูดแสดงความรู้ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  เล่าเรื่องย่อหรือสรุปจากเรื่องที่ฟังและดู    ตั้งคำถาม  ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู  รวมทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูโฆษณาอย่างมีเหตุผล  พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่างๆ  อย่างชัดเจน  พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจาก     การฟัง  การดู  การสนทนา  และพูดโน้มน้าวได้อย่างมีเหตุผล  รวมทั้งมีมารยาทในการดูและพูด
·       สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ  สำนวน  คำพังเพยและสุภาษิต   รู้และเข้าใจ      ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค   ชนิดของประโยค     และคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย   ใช้   คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม   แต่งประโยค   แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่     กลอนสุภาพ และกาพย์ยานี ๑๑
·       เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  เล่านิทานพื้นบ้าน  ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น  นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  และท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดได้
          จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
·       อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง  เข้าใจความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย  จับใจความสำคัญและรายละเอียดของสิ่งที่อ่าน  แสดงความคิดเห็นและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  และเขียนกรอบแนวคิด  ผังความคิด   ย่อความ   เขียนรายงานจาก  สิ่งที่อ่านได้  วิเคราะห์  วิจารณ์  อย่างมีเหตุผล  ลำดับความอย่างมีขั้นตอนและความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน  รวมทั้งประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
·       เขียนสื่อสารด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน ใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับภาษาเขียนคำขวัญ คำคม คำอวยพรในโอกาสต่างๆ โฆษณา คติพจน์ สุนทรพจน์ ชีวประวัติ อัตชีวประวัติและประสบการณ์ต่างๆ เขียนย่อความ  จดหมายกิจธุระ แบบกรอกสมัครงาน  เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ความคิดหรือโต้แย้งอย่างมีเหตุผล   ตลอดจนเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและเขียนโครงงาน
·       พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์  ประเมินสิ่งที่ได้จากการฟังและดู  นำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ         มีศิลปะในการพูด พูดในโอกาสต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์  และพูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
·       เข้าใจและใช้คำราชาศัพท์  คำบาลีสันสกฤต  คำภาษาต่างประเทศอื่นๆ คำทับศัพท์ และศัพท์บัญญัติในภาษาไทย วิเคราะห์ความแตกต่างในภาษาพูด ภาษาเขียน โครงสร้างของประโยครวม ประโยคซ้อน ลักษณะภาษาที่เป็นทางการ กึ่งทางการและไม่เป็นทางการ และแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ  กาพย์  และโคลงสี่สุภาพ
·       สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ วิถีชีวิตไทย และคุณค่าที่ได้รับจากวรรณคดีวรรณกรรมและบทอาขยาน  พร้อมทั้งสรุปความรู้ข้อคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
          จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
·       อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้องและเข้าใจ   ตีความ  แปลความ  และขยายความเรื่องที่อ่านได้   วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน  แสดงความคิดเห็นโต้แย้งและเสนอความคิดใหม่จากการอ่านอย่างมีเหตุผล  คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน  เขียนกรอบแนวคิด  ผังความคิด  บันทึก  ย่อความ และเขียนรายงานจากสิ่งที่อ่าน สังเคราะห์  ประเมินค่า  และนำความรู้ความคิดจากการอ่านมาพัฒนาตน  พัฒนาการเรียน  และพัฒนาความรู้ทางอาชีพ  และ  นำความรู้ความคิดไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต  มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน
·       เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ  โดยใช้ภาษาได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์   ย่อความจากสื่อที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลาย   เรียงความแสดงแนวคิดเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โวหารต่างๆ  เขียนบันทึก  รายงานการศึกษาค้นคว้าตามหลักการเขียนทางวิชาการ ใช้ข้อมูลสารสนเทศในการอ้างอิง   ผลิตผลงานของตนเองในรูปแบบต่างๆ   ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี   รวมทั้งประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
·       ตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  มีวิจารณญาณในการเลือกเรื่องที่ฟังและดู  วิเคราะห์วัตถุประสงค์  แนวคิด  การใช้ภาษา  ความน่าเชื่อถือของเรื่องที่ฟังและดู  ประเมินสิ่งที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต  มีทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง   พูดแสดงทรรศนะ  โต้แย้ง  โน้มน้าว  และเสนอแนวคิดใหม่อย่างมีเหตุผล  รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
·       เข้าใจธรรมชาติของภาษา  อิทธิพลของภาษา  และลักษณะของภาษาไทย ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคได้ตรงตามวัตถุประสงค์   แต่งคำประพันธ์ประเภท กาพย์ โคลง ร่ายและฉันท์   ใช้ภาษาได้เหมาะสมกับกาลเทศะและใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างถูกต้อง  วิเคราะห์หลักการ  สร้างคำในภาษาไทย  อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยและภาษาถิ่น  วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
·       วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น รู้และเข้าใจลักษณะเด่นของวรรณคดี ภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรมพื้นบ้าน  เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีไทย   ประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์  และนำข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

สาระที่ ๑    การอ่าน

มาตรฐาน  ท ๑. ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต  และมีนิสัยรักการอ่าน

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑

อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ
บอกความหมายของคำ และข้อความที่อ่าน
˜ การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง   และข้อความที่ประกอบด้วย    คำพื้นฐาน  คือ คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน        ไม่น้อยกว่า ๖๐๐ คำ  รวมทั้งคำที่ใช้เรียนรู้ใน  กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ประกอบด้วย
- คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูปวรรณยุกต์
- คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
- คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ  
คำที่มีอักษรนำ

ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน
คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
    - นิทาน
    - เรื่องสั้นๆ
    - บทร้องเล่นและบทเพลง
    - เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

๖. อ่านหนังสือตามความสนใจ         อย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
    - หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
    - หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน 

บอกความหมายของเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน
˜ การอ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ประกอบด้วย
    - เครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
    - เครื่องหมายแสดงความปลอดภัยและแสดงอันตราย

๘. มีมารยาท ในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน  เช่น
    - ไม่อ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น
    - ไม่เล่นกันขณะที่อ่าน
    - ไม่ทำลายหนังสือ
ป.๒
อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆ                ได้ถูกต้อง
อธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่าน
˜ การอ่านออกเสียงและการบอกวามหมายของคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆ ที่ประกอบด้วยคำพื้นฐานเพิ่มจาก  ป. ๑          ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ คำ  รวมทั้งคำที่ใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ประกอบด้วย
- คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูปวรรณยุกต์


คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ  
- คำที่มีอักษรนำ
- คำที่มีตัวการันต์
- คำที่มี รร
- คำที่มีพยัญชนะและสระที่ไม่ออกเสียง

ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับ                 เรื่องที่อ่าน
ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน
แสดงความคิดเห็นและคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
    - นิทาน
    - เรื่องเล่าสั้น ๆ
    - บทเพลงและบทร้อยกรองง่ายๆ
    - เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น   
    - ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน 

อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
    - หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
    - หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ
˜ การอ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ
- การใช้สถานที่สาธารณะ
- คำแนะนำการใช้เครื่องใช้ที่จำเป็นในบ้านและในโรงเรียน

.  มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน  เช่น
    - ไม่อ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น
    - ไม่เล่นกันขณะที่อ่าน
    - ไม่ทำลายหนังสือ
    - ไม่ควรแย่งอ่านหรือชะโงกหน้าไปอ่านขณะที่ผู้อื่นกำลังอ่านอยู่
ป.๓
อ่านออกเสียงคำ ข้อความ เรื่องสั้นๆ และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว
อธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่าน
˜ การอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆ ที่ประกอบด้วยคำพื้นฐานเพิ่มจาก  ป.๒ ไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ คำ  รวมทั้งคำที่เรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ประกอบด้วย
- คำที่มีตัวการันต์
- คำที่มี รร
- คำที่มีพยัญชนะและสระไม่ออกเสียง
- คำพ้อง
- คำพิเศษอื่นๆ เช่น คำที่ใช้ ฑ ฤ ฤๅ

ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
- นิทานหรือเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่น 

ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบ
สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- เรื่องเล่าสั้นๆ
- บทเพลงและบทร้อยกรอง
- บทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
- ข่าวและเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันในท้องถิ่นและชุมชน

อ่านหนังสือตามความสนใจ                 อย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
    - หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
    - หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

อ่านข้อเขียนเชิงอธิบายและปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ
˜ การอ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ
- คำแนะนำต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
- ประกาศ ป้ายโฆษณา และคำขวัญ

อธิบายความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ แผนที่ และแผนภูมิ
˜ การอ่านข้อมูลจากแผนภาพ แผนที่ และแผนภูมิ


๙. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน  เช่น
- ไม่อ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น
- ไม่เล่นกันขณะที่อ่าน
- ไม่ทำลายหนังสือ
- ไม่ควรแย่งอ่านหรือชะโงกหน้าไปอ่านขณะที่ผู้อื่นกำลังอ่าน
ป.๔
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและ       บทร้อยกรองได้ถูกต้อง
๒.  อธิบายความหมายของคำ ประโยค และสำนวนจากเรื่องที่อ่าน                  
˜ การอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองที่ประกอบด้วย
คำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้น
- คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
คำที่มีอักษรนำ
- คำประสม
- อักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน
- ประโยคที่มีสำนวนเป็นคำพังเพย  สุภาษิต ปริศนาคำทาย  และเครื่องหมายวรรคตอน
˜ การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ           

อ่านเรื่องสั้นๆ ตามเวลาที่กำหนดและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน
แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น               จากเรื่องที่อ่าน
คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบ
สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
- เรื่องสั้น ๆ
- เรื่องเล่าจากประสบการณ์
- นิทานชาดก
- บทความ
- บทโฆษณา
งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ

เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน
  - สารคดีและบันเทิงคดี

อ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจย่างสม่ำเสมอและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
- หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
- หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

๘. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน
ป.๕
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและ        บทร้อยกรองได้ถูกต้อง
๒. อธิบายความหมายของคำ ประโยคและข้อความที่เป็นการบรรยาย                  และการพรรณนา
 อธิบายความหมายโดยนัย  จากเรื่องที่อ่านอย่างหลากหลาย
˜ การอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองที่ประกอบด้วย  
คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
- คำที่มีอักษรนำ
คำที่มีตัวการันต์
- อักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน
- ข้อความที่เป็นการบรรยายและพรรณนา
ข้อความที่มีความหมายโดยนัย
˜ การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ

แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้      ในการดำเนินชีวิต       
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น 
- วรรณคดีในบทเรียน
- บทความ
- บทโฆษณา     
งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน

อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม
˜ การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม เช่น
- การใช้พจนานุกรม
การใช้วัสดุอุปกรณ์
การอ่านฉลากยา 
- คู่มือและเอกสารของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน
- ข่าวสารทางราชการ

อ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
    - หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
    - หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

๘. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน
ป.๖
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและ         บทร้อยกรองได้ถูกต้อง
๒. อธิบายความหมายของคำ ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร
˜ การอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของบทร้อยแก้ว  และบทร้อยกรอง ประกอบด้วย
- คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
คำที่มีอักษรนำ


คำที่มีตัวการันต์
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
- อักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน
- วัน เดือน ปีแบบไทย
- ข้อความที่เป็นโวหารต่างๆ
- สำนวนเปรียบเทียบ
˜ การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ

อ่านเรื่องสั้นๆ อย่างหลากหลาย   โดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น    
- เรื่องสั้น ๆ
- นิทานและเพลงพื้นบ้าน
บทความ

อธิบายการนำความรู้และความคิด จากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิต
พระบรมราโชวาท
- สารคดี
- เรื่องสั้น
งานเขียนประเภทโน้มน้าว
บทโฆษณา
ข่าว และเหตุการณ์สำคัญ 
˜ การอ่านเร็ว

อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง  ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม

˜ การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม
- การใช้พจนานุกรม
  - การปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม
  - ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียน และการใช้สถานที่สาธารณะในชุมชนและท้องถิ่น

อธิบายความหมายของข้อมูล  จากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ
˜ การอ่านข้อมูลจากแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ


อ่านหนังสือตามความสนใจ และอธิบายคุณค่าที่ได้รับ
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
- หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
- หนังสืออ่านที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

๙. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน
ม.๑
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว   และ     บทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านออกเสียง ประกอบด้วย 
บทร้อยแก้วที่เป็นบทบรรยาย
บทร้อยกรอง เช่น กลอนสุภาพ กลอนสักวา กาพย์ยานี ๑๑  กาพย์ฉบัง ๑๖  กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘  และโคลงสี่สุภาพ

๒. จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น






ระบุเหตุและผล  และข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบ และคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่างๆ จากการอ่าน
ตีความคำยากในเอกสารวิชาการ โดยพิจารณาจากบริบท
เรื่องเล่าจากประสบการณ์ 
เรื่องสั้น 
บทสนทนา
- นิทานชาดก
- วรรณคดีในบทเรียน
- งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ 
- บทความ   

ระบุข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทชักจูง         โน้มน้าวใจ
- สารคดี
- บันเทิงคดี
เอกสารทางวิชาการที่มีคำ ประโยค  และข้อความที่ต้องใช้บริบทช่วยพิจารณาความหมาย
งานเขียนประเภทชักจูงโน้มน้าวใจเชิงสร้างสรรค์

ปฏิบัติตามคู่มือแนะนำวิธีการใช้งาน ของเครื่องมือหรือเครื่องใช้ในระดับที่ยากขึ้น
˜ การอ่านและปฏิบัติตามเอกสารคู่มือ


วิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากการอ่านงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น  
- หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
- หนังสืออ่านที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

๙. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน
ม.๒
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และ       บทร้อยกรองได้ถูกต้อง
˜ การอ่านออกเสียง ประกอบด้วย
บทร้อยแก้วที่เป็นบทบรรยายและบทพรรณนา
  - บทร้อยกรอง เช่น กลอนบทละคร กลอนนิทาน กลอนเพลงยาว และกาพย์ห่อโคลง

จับใจความสำคัญ สรุปความ  และอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน
เขียนผังความคิดเพื่อแสดงความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ ที่อ่าน
อภิปรายแสดงความคิดเห็น และ    ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
วิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริง ข้อมูลสนับสนุน และข้อคิดเห็นจากบทความที่อ่าน
๖. ระบุข้อสังเกตการชวนเชื่อ  การ   โน้มน้าว หรือความสมเหตุสมผลของงานเขียน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
วรรณคดีในบทเรียน
- บทความ 
บันทึกเหตุการณ์
บทสนทนา
บทโฆษณา
งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ
- งานเขียนหรือบทความแสดงข้อเท็จจริง
เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น



อ่านหนังสือ บทความ หรือคำประพันธ์อย่างหลากหลาย และประเมินคุณค่าหรือแนวคิดที่ได้จากการอ่าน  เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
˜ การอ่านตามความสนใจ เช่น
หนังสืออ่านนอกเวลา
- หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
- หนังสืออ่านที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

๘. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน
ม.๓
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว  และ     บทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน                 
˜ การอ่านออกเสียง ประกอบด้วย
บทร้อยแก้วที่เป็นบทความทั่วไปและบทความปกิณกะ 
- บทร้อยกรอง เช่น  กลอนบทละคร กลอนเสภา  กาพย์ยานี ๑๑  กาพย์ฉบัง ๑๖  และโคลงสี่สุภาพ

ระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
๔. อ่านเรื่องต่างๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความและรายงาน
วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่อง      ที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น  
.  ประเมินความถูกต้องของข้อมูล        ที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน 
วิจารณ์ความสมเหตุสมผล  การลำดับความ และความเป็นไปได้ของเรื่อง    
๘. วิเคราะห์เพื่อแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน      
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
วรรณคดีในบทเรียน
ข่าวและเหตุการณ์สำคัญ
บทความ
บันเทิงคดี 
สารคดี 
สารคดีเชิงประวัติ
ตำนาน
งานเขียนเชิงสร้างสรรค์   
เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น                    

ตีความและประเมินคุณค่า    และแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหา  ในชีวิต

˜ การอ่านตามความสนใจ เช่น
หนังสืออ่านนอกเวลา
หนังสืออ่านตามความสนใจและตามวัยของนักเรียน
หนังสืออ่านที่ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนด
๑๐. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน
.-.
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว   และ    บทร้อยกรองได้อย่างถูกต้อง  ไพเราะ และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน 
˜ การอ่านออกเสียง ประกอบด้วย
บทร้อยแก้วประเภทต่างๆ เช่น บทความ      นวนิยาย และความเรียง


บทร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย  และลิลิต


๒.  ตีความ แปลความ และขยายความเรื่องที่อ่าน
๓. วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่าน                    ในทุกๆ ด้านอย่างมีเหตุผล
๔.  คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน และประเมินค่าเพื่อนำความรู้ ความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
๕. วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นโต้แย้งกับเรื่องที่อ่าน และเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล
๖.  ตอบคำถามจากการอ่านประเภทต่างๆ  ภายในเวลาที่กำหนด
๗.  อ่านเรื่องต่างๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิดผังความคิด บันทึก ย่อความ และรายงาน
๘. สังเคราะห์ความรู้จากการอ่าน       สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ มาพัฒนาตน พัฒนาการเรียน และพัฒนาความรู้ทางอาชีพ
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
- ข่าวสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในชุมชน
- บทความ
- นิทาน
- เรื่องสั้น  
- นวนิยาย
- วรรณกรรมพื้นบ้าน
- วรรณคดีในบทเรียน
- บทโฆษณา
- สารคดี 
- บันเทิงคดี  
- ปาฐกถา
- พระบรมราโชวาท
- เทศนา
- คำบรรยาย
- คำสอน    
- บทร้อยกรองร่วมสมัย     
- บทเพลง
- บทอาเศียรวาท            
- คำขวัญ 

๙. มีมารยาทในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน




สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.๑  ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ   เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ

˜ การเขียนสื่อสาร
คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
คำพื้นฐานในบทเรียน 
  - คำคล้องจอง
ประโยคง่ายๆ

๓. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน เช่น
- เขียนให้อ่านง่าย สะอาด ไม่ขีดฆ่า
- ไม่ขีดเขียนในที่สาธารณะ
- ใช้ภาษาเขียนเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และบุคคล
.
คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

เขียนเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับประสบการณ์
˜ การเขียนเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับประสบการณ์

เขียนเรื่องสั้นๆ ตามจินตนาการ
˜ การเขียนเรื่องสั้นๆ ตามจินตนาการ

๔. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน  เช่น
- เขียนให้อ่านง่าย สะอาด ไม่ขีดฆ่า
- ไม่ขีดเขียนในที่สาธารณะ
- ใช้ภาษาเขียนเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และบุคคล
- ไม่เขียนล้อเลียนผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ป.๓
คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียน ตัวอักษรไทย

๒ เขียนบรรยายเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ได้อย่างชัดเจน
˜ การเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

เขียนบันทึกประจำวัน
˜ การเขียนบันทึกประจำวัน

เขียนจดหมายลาครู
˜ การเขียนจดหมายลาครู

เขียนเรื่องตามจินตนาการ
˜ การเขียนเรื่องตามจินตนาการจากคำ ภาพ และหัวข้อที่กำหนด

๖. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน  เช่น
- เขียนให้อ่านง่าย สะอาด ไม่ขีดฆ่า
- ไม่ขีดเขียนในที่สาธารณะ
- ใช้ภาษาเขียนเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และบุคคล
- ไม่เขียนล้อเลียนผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ป.๔
๑. คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด           
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

.  เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม
˜ การเขียนสื่อสาร เช่น
คำขวัญ
  - คำแนะนำ 

เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน
˜ การนำแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดไปพัฒนางานเขียน


เขียนย่อความจากเรื่องสั้นๆ
˜ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน  ความเรียงประเภทต่างๆ ประกาศ จดหมาย    คำสอน      

เขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา 
˜ การเขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา


เขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า  
˜ การเขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า  

เขียนเรื่องตามจินตนาการ
˜ การเขียนเรื่องตามจินตนาการ

๘. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน
ป.๕
คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด และครึ่งบรรทัด     
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและ        ครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

. เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม

˜ การเขียนสื่อสาร เช่น
- คำขวัญ
- คำอวยพร
- คำแนะนำและคำอธิบายแสดงขั้นตอน

เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน
˜ การนำแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดไปพัฒนางานเขียน

เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน
˜ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน ความเรียงประเภทต่างๆ ประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์ จดหมาย คำสอน โอวาท คำปราศรัย  

เขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ
˜ การเขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ

เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นได้ตรงตามเจตนา
˜ การเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น

กรอกแบบรายการต่างๆ

˜ การกรอกแบบรายการ
ใบฝากเงินและใบถอนเงิน
ธนาณัติ
- แบบฝากส่งพัสดุไปรษณียภัณฑ์

เขียนเรื่องตามจินตนาการ
˜ การเขียนเรื่องตามจินตนาการ

๙. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน
ป.๖
๑. คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  และครึ่งบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและ        ครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย
.  เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม
˜ การเขียนสื่อสาร เช่น
- คำขวัญ
- คำอวยพร
- ประกาศ 

เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน        
˜ การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด
เขียนเรียงความ
˜ การเขียนเรียงความ

เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน
˜ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน  ความเรียงประเภทต่างๆ ประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์  จดหมาย  คำสอน โอวาท            คำปราศรัย สุนทรพจน์ รายงาน ระเบียบ คำสั่ง  

เขียนจดหมายส่วนตัว
˜ การเขียนจดหมายส่วนตัว
จดหมายขอโทษ
จดหมายแสดงความขอบคุณ
จดหมายแสดงความเห็นใจ
จดหมายแสดงความยินดี

กรอกแบบรายการต่างๆ

˜ การกรอกแบบรายการ
แบบคำร้องต่างๆ
ใบสมัครศึกษาต่อ
แบบฝากส่งพัสดุและไปรษณียภัณฑ์

เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์
˜ การเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์

๙. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน
ม.๑
คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

๒. เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้องชัดเจน เหมาะสม และสละสลวย 
˜ การเขียนสื่อสาร เช่น    
การเขียนแนะนำตนเอง
การเขียนแนะนำสถานที่สำคัญๆ
การเขียนบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เขียนบรรยายประสบการณ์โดยระบุสาระสำคัญและรายละเอียดสนับสนุน
˜ การบรรยายประสบการณ์


เขียนเรียงความ
˜ การเขียนเรียงความเชิงพรรณนา

เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน
˜ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น  เรื่องสั้น   คำสอน โอวาท   คำปราศรัย สุนทรพจน์ รายงาน ระเบียบ คำสั่ง บทสนทนาเรื่องเล่าประสบการณ์  

เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ

˜ การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ เช่น
- บทความ
- หนังสืออ่านนอกเวลา
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน
- เหตุการณ์สำคัญต่างๆ            

๗. เขียนจดหมายส่วนตัวและจดหมาย    กิจธุระ

˜ การเขียนจดหมายส่วนตัว
จดหมายขอความช่วยเหลือ
จดหมายแนะนำ
˜  การเขียนจดหมายกิจธุระ
- จดหมายสอบถามข้อมูล

เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงาน
˜ การเขียนรายงาน ได้แก่  
- การเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
- การเขียนรายงานโครงงาน

๙. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน
ม.๒
คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียน ตัวอักษรไทย

เขียนบรรยายและพรรณนา
˜ การเขียนบรรยายและพรรณนา

เขียนเรียงความ
˜ การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์

เขียนย่อความ
˜ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน         คำสอน บทความทางวิชาการ บันทึกเหตุการณ์  เรื่องราวในบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น นิทานชาดก

เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า

˜ การเขียนรายงาน
- การเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
- การเขียนรายงานโครงงาน

เขียนจดหมายกิจธุระ
˜ การเขียนจดหมายกิจธุระ
- จดหมายเชิญวิทยากร
- จดหมายขอความอนุเคราะห์

เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้ง                 ในเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล
˜ การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น   หรือโต้แย้งจากสื่อต่างๆ เช่น
- บทความ
- บทเพลง
- หนังสืออ่านนอกเวลา


- สารคดี
  - บันเทิงคดี

๘. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน
ม.๓
คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

เขียนข้อความโดยใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องตามระดับภาษา 
˜ การเขียนข้อความตามสถานการณ์และโอกาสต่างๆ  เช่น
- คำอวยพรในโอกาสต่างๆ
- คำขวัญ
คำคม
โฆษณา
คติพจน์
สุนทรพจน์

เขียนชีวประวัติหรืออัตชีวประวัติโดยเล่าเหตุการณ์ ข้อคิดเห็น และทัศนคติในเรื่องต่างๆ
˜ การเขียนอัตชีวประวัติหรือชีวประวัติ

เขียนย่อความ
˜ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน ประวัติ  ตำนาน  สารคดีทางวิชาการ  พระราชดำรัส  พระบรมราโชวาท  จดหมายราชการ

เขียนจดหมายกิจธุระ

˜ การเขียนจดหมายกิจธุระ
- จดหมายเชิญวิทยากร
- จดหมายขอความอนุเคราะห์
- จดหมายแสดงความขอบคุณ

เขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้งอย่างมีเหตุผล
˜ การเขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็น และโต้แย้งในเรื่องต่างๆ                  

เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้ง                        ในเรื่องต่างๆ 

˜ การเขียนวิเคราะห์  วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้งจากสื่อต่างๆ เช่น
- บทโฆษณา 
- บทความทางวิชาการ

กรอกแบบสมัครงานพร้อมเขียนบรรยายเกี่ยวกับความรู้และทักษะ      ของตนเองที่เหมาะสมกับงาน
˜ การกรอกแบบสมัครงาน


เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงาน
           
˜ การเขียนรายงาน ได้แก่
- การเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
- การเขียนรายงานโครงงาน

๑๐. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน
.-.
๑. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ   ได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาเรียบเรียงถูกต้อง มีข้อมูล และสาระสำคัญชัดเจน   
               
˜ การเขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น
- อธิบาย 
- บรรยาย 
- พรรณนา
- แสดงทรรศนะ 
- โต้แย้ง 
- โน้มน้าว
- เชิญชวน
- ประกาศ  
- จดหมายกิจธุระ 
- โครงการและรายงานการดำเนินโครงการ 
- รายงานการประชุม
- การกรอกแบบรายการต่างๆ 

๒. เขียนเรียงความ
˜ การเขียนเรียงความ

๓. เขียนย่อความจากสื่อที่มีรูปแบบ  และเนื้อหาหลากหลาย 
˜ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ  เช่น
- กวีนิพนธ์ และวรรณคดี
เรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย บทความทางวิชาการ และวรรณกรรมพื้นบ้าน

๔. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่างๆ 
˜ การเขียนในรูปแบบต่างๆ เช่น
- สารคดี
- บันเทิงคดี

๕. ประเมินงานเขียนของผู้อื่น  แล้วนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง

˜ การประเมินคุณค่างานเขียนในด้านต่างๆ เช่น
- แนวคิดของผู้เขียน
- การใช้ถ้อยคำ
- การเรียบเรียง
- สำนวนโวหาร                                                                                              
- กลวิธีในการเขียน

๖. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า           เรื่องที่สนใจตามหลักการเขียนเชิงวิชาการ   และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงอย่างถูกต้อง
˜ การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
˜ การเขียนอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศ

๗. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
˜ การเขียนบันทึกความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

๘. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน

สาระที่ ๓    การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท ๓. สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ  และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ  อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์                                     

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
ฟังคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆ และปฏิบัติตาม
˜ การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆ

ตอบคำถามและเล่าเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง
พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
˜ การจับใจความและพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง เช่น
- เรื่องเล่าและสารคดีสำหรับเด็ก
- นิทาน
-  การ์ตูน
-  เรื่องขบขัน

พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์

˜ การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น
- การแนะนำตนเอง
- การขอความช่วยเหลือ
- การกล่าวคำขอบคุณ
- การกล่าวคำขอโทษ 

มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜  มารยาทในการฟัง เช่น
- ตั้งใจฟัง ตามองผู้พูด
- ไม่รบกวนผู้อื่นขณะที่ฟัง
- ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มไปรับประทานขณะที่ฟัง
- ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ
- ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง
˜  มารยาทในการดู เช่น
- ตั้งใจดู
- ไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงอาการรบกวนสมาธิของผู้อื่น
˜  มารยาทในการพูด เช่น  
- ใช้ถ้อยคำและกิริยาที่สุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ
- ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล
- ไม่พูดสอดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด
.
๑. ฟังคำแนะนำ คำสั่งที่ซับซ้อน  และปฏิบัติตาม
˜ การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ คำสั่งที่ซับซ้อน

เล่าเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง
บอกสาระสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู
ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู
˜ การจับใจความและพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  เช่น
- เรื่องเล่าและสารคดีสำหรับเด็ก
- นิทาน การ์ตูน และเรื่องขบขัน

พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
- รายการสำหรับเด็ก
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน
- เพลง

พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์

˜ การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น
- การแนะนำตนเอง
- การขอความช่วยเหลือ
- การกล่าวคำขอบคุณ
- การกล่าวคำขอโทษ
- การพูดขอร้องในโอกาสต่างๆ
- การเล่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน              

. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜  มารยาทในการฟัง เช่น
- ตั้งใจฟัง ตามองผู้พูด
- ไม่รบกวนผู้อื่นขณะที่ฟัง
- ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มไปรับประทานขณะที่ฟัง
- ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง
˜  มารยาทในการดู เช่น
- ตั้งใจดู
- ไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงอาการรบกวนสมาธิของผู้อื่น
˜  มารยาทในการพูด เช่น
- ใช้ถ้อยคำและกิริยาที่สุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ
- ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล
- ไม่พูดสอดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด
- ไม่พูดล้อเลียนให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเสียหาย
ป.๓
เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง
บอกสาระสำคัญจากการฟังและการดู
ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู
พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
˜ การจับใจความและพูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง เช่น
- เรื่องเล่าและสารคดีสำหรับเด็ก      
- นิทาน การ์ตูน เรื่องขบขัน
- รายการสำหรับเด็ก
- ข่าวและเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
- เพลง

. พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์
˜ การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น
- การแนะนำตนเอง
- การแนะนำสถานที่ในโรงเรียนและในชุมชน
- การแนะนำ/เชิญชวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในด้านต่างๆ เช่น  การรักษาความสะอาดของร่างกาย       


- การเล่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน
การพูดในโอกาสต่างๆ เช่น การพูดขอร้อง การพูดทักทาย   การกล่าวขอบคุณและขอโทษ การพูดปฏิเสธ และการพูดชักถาม              

มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜  มารยาทในการฟัง เช่น
- ตั้งใจฟัง ตามองผู้พูด
- ไม่รบกวนผู้อื่นขณะที่ฟัง
- ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มไปรับประทานขณะที่ฟัง
- ไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น โห่ ฮา หาว
- ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ
- ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง
˜  มารยาทในการดู เช่น
- ตั้งใจดู
- ไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงอาการรบกวนสมาธิของผู้อื่น
˜  มารยาทในการพูด เช่น
- ใช้ถ้อยคำและกิริยาที่สุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ
- ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล
- ไม่พูดสอดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด
- ไม่พูดล้อเลียนให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเสียหาย
ป.๔

จำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู
พูดสรุปความจากการฟังและดู
พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น        และความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู
ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู
˜ การจำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู  ในชีวิตประจำวัน
˜ การจับใจความ และการพูดแสดงความรู้ ความคิดในเรื่องที่ฟังและดู  จากสื่อต่างๆ เช่น  
- เรื่องเล่า  
- บทความสั้นๆ  
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน
- โฆษณา
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์
  - เรื่องราวจากบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

รายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู  และการสนทนา
˜ การรายงาน เช่น
- การพูดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การพูดลำดับเหตุการณ์ 

มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด
ป.๕
พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น  และความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
˜ การจับใจความ และการพูดแสดงความรู้ ความคิดในเรื่องที่ฟังและดู จากสื่อต่างๆ เช่น 

ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู
วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่อง      ที่ฟังและดูอย่างมีเหตุผล
- เรื่องเล่า 
- บทความ 
- ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน
- โฆษณา 
- สื่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์
˜ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูในชีวิตประจำวัน

พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู  และการสนทนา
˜ การรายงาน เช่น
- การพูดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การพูดลำดับเหตุการณ์

มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด
ป.๖

พูดแสดงความรู้    ความเข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู
ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล   จากเรื่องที่ฟังและดู
˜ การพูดแสดงความรู้ ความเข้าใจในจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่างๆ ได้แก่
- สื่อสิ่งพิมพ์
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์

วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล
˜ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณา

พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู  และการสนทนา
˜ การรายงาน เช่น
- การพูดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การพูดลำดับเหตุการณ์

พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล   และน่าเชื่อถือ

˜ การพูดโน้มน้าวในสถานการณ์ต่างๆ เช่น
- การเลือกตั้งกรรมการนักเรียน
- การรณรงค์ด้านต่างๆ
- การโต้วาที      

มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด
ม.๑
พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู
เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟังและดู
พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู
ประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อ                  ที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ
˜  การพูดสรุปความ พูดแสดงความรู้ ความคิดอย่างสร้างสรรค์จากเรื่องที่ฟังและดู
˜  การพูดประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าว


พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง  การดู  และการสนทนา
˜ การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชน  และท้องถิ่นของตน

มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด
ม.๒
พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู
˜ การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู

วิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น  และความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากสื่อต่างๆ
วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่ฟังและดูอย่างมีเหตุผลเพื่อนำข้อคิดมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
˜ การพูดวิเคราะห์และวิจารณ์จากเรื่องที่ฟังและดู


พูดในโอกาสต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
˜ การพูดในโอกาสต่างๆ เช่น
- การพูดอวยพร
- การพูดโน้มน้าว
- การพูดโฆษณา         




พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้า
˜ การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ


มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด
ม.๓
แสดงความคิดเห็นและประเมินเรื่องจากการฟังและการดู
. วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู           เพื่อนำข้อคิดมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
˜ การพูดแสดงความคิดเห็น และประเมินเรื่องจากการฟังและการดู
˜ การพูดวิเคราะห์วิจารณ์จากเรื่องที่ฟังและดู


พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา
˜ การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ          ภูมิปัญญาท้องถิ่น


. พูดในโอกาสต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
˜ การพูดในโอกาสต่างๆ เช่น
-  การพูดโต้วาที  
-  การอภิปราย
-  การพูดยอวาที

พูดโน้มน้าวโดยนำเสนอหลักฐานตามลำดับเนื้อหาอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
˜ การพูดโน้มน้าว


มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด
.-.
๑. สรุปแนวคิด และแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู 
˜ การพูดสรุปแนวคิด และการแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู

๒. วิเคราะห์ แนวคิด การใช้ภาษา และความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดู
˜ การวิเคราะห์แนวคิด การใช้ภาษา และความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดู        

อย่างมีเหตุผล
. ประเมินเรื่องที่ฟังและดู แล้วกำหนดแนวทางนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
. มีวิจารณญาณในการเลือกเรื่องที่ฟังและดู
˜  การเลือกเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
˜  การประเมินเรื่องที่ฟังและดูเพื่อกำหนดแนวทางนำไปประยุกต์ใช้

๕. พูดในโอกาสต่างๆ พูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง  โน้มน้าวใจ  และเสนอแนวคิดใหม่ด้วยภาษาถูกต้องเหมาะสม

˜ การพูดในโอกาสต่างๆ เช่น
- การพูดต่อที่ประชุมชน 
- การพูดอภิปราย 
- การพูดแสดงทรรศนะ
- การพูดโน้มน้าวใจ        

๖. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜ มารยาทในการฟัง การดู และการพูด

สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน ท ๔.๑  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา   ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ                    

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
๑. บอกและเขียนพยัญชนะ  สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย
˜ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
˜ เลขไทย

๒. เขียนสะกดคำและบอกความหมาย ของคำ
   
˜ การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ
˜ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา 
˜ การผันคำ
˜ ความหมายของคำ

๓. เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่าย ๆ
˜ การแต่งประโยค

๔. ต่อคำคล้องจองง่ายๆ
˜ คำคล้องจอง
.
๑. บอกและเขียนพยัญชนะ  สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย
˜ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
˜ เลขไทย

๒. เขียนสะกดคำและบอกความหมาย ของคำ


˜ การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ
˜ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
˜ การผันอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ
˜ คำที่มีตัวการันต์
˜ คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
˜ คำที่มีอักษรนำ
˜ คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน
˜ คำที่มี รร
˜ ความหมายของคำ

๓. เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ตรงตามเจตนาของการสื่อสาร
˜ การแต่งประโยค
˜ การเรียบเรียงประโยคเป็นข้อความสั้นๆ

๔. บอกลักษณะคำคล้องจอง
˜ คำคล้องจอง

๕. เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและ   ภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
˜ ภาษาไทยมาตรฐาน
˜ ภาษาถิ่น
.
. เขียนสะกดคำและบอกความหมา     ของคำ

˜ การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ
˜ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา


˜ การผันอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ
˜ คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
˜ คำที่มีอักษรนำ
˜ คำที่ประวิสรรชนีย์และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
˜ คำที่มี ฤ ฤๅ
˜ คำที่ใช้ บัน บรร
˜ คำที่ใช้ รร
˜ คำที่มีตัวการันต์
˜ ความหมายของคำ

๓. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค

˜ ชนิดของคำ ได้แก่
- คำนาม
- คำสรรพนาม
- คำกริยา

๔. ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ       
˜ การใช้พจนานุกรม

๕. แต่งประโยคง่ายๆ

˜ การแต่งประโยคเพื่อการสื่อสาร ได้แก่
- ประโยคบอกเล่า
- ประโยคปฏิเสธ
- ประโยคคำถาม
- ประโยคขอร้อง
- ประโยคคำสั่ง

๖. แต่งคำคล้องจองและคำขวัญ

˜ คำคล้องจอง
˜ คำขวัญ

๗. เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและ   ภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
˜ ภาษาไทยมาตรฐาน
˜ ภาษาถิ่น
ป.๔

๑. สะกดคำและบอกความหมายของคำในบริบทต่างๆ
˜ คำในแม่ ก กา 
˜ มาตราตัวสะกด
˜ การผันอักษร
˜ คำเป็นคำตาย
˜ คำพ้อง

๒. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค

˜ ชนิดของคำ ได้แก่
- คำนาม
- คำสรรพนาม
- คำกริยา 
- คำวิเศษณ์

๓ ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ       
˜ การใช้พจนานุกรม

๔. แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา

˜ ประโยคสามัญ
    - ส่วนประกอบของประโยค                 
    - ประโยค  ๒  ส่วน
    - ประโยค  ๓  ส่วน

๕. แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ
˜ กลอนสี่
˜ คำขวัญ

๖. บอกความหมายของสำนวน
˜ สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต

๗. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้
˜ ภาษาไทยมาตรฐาน
˜ ภาษาถิ่น
ป.๕
๑. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค

˜ ชนิดของคำ ได้แก่
    - คำบุพบท
    - คำสันธาน
    - คำอุทาน

๒. จำแนกส่วนประกอบของประโยค
˜ ประโยคและส่วนประกอบของประโยค

๓. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น
˜ ภาษาไทยมาตรฐาน
˜ ภาษาถิ่น

๔. ใช้คำราชาศัพท์
˜ คำราชาศัพท์

๕. บอกคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
˜ คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

๖. แต่งบทร้อยกรอง
˜ กาพย์ยานี ๑๑

ใช้สำนวนได้ถูกต้อง          
˜ สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
ป.๖

๑. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค     

˜ ชนิดของคำ
- คำนาม
- คำสรรพนาม
- คำกริยา
- คำวิเศษณ์
- คำบุพบท
- คำเชื่อม
- คำอุทาน

๒. ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

˜ คำราชาศัพท์
˜ ระดับภาษา
˜ ภาษาถิ่น

๓. รวบรวมและบอกความหมายของ      คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
˜ คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ


๔. ระบุลักษณะของประโยค

˜ กลุ่มคำหรือวลี
˜ ประโยคสามัญ
˜ ประโยครวม
˜ ประโยคซ้อน

๕. แต่งบทร้อยกรอง
˜ กลอนสุภาพ

. วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิต
˜ สำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิต
ม.๑
๑. อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย
˜ เสียงในภาษาไทย

๒. สร้างคำในภาษาไทย

˜ การสร้างคำ
    - คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน
    - คำพ้อง

๓. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
˜ ชนิดและหน้าที่ของคำ

๔. วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน
˜ ภาษาพูด
˜ ภาษาเขียน

๕.  แต่งบทร้อยกรอง
˜ กาพย์ยานี ๑๑

๖. จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
˜ สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
ม.๒
๑. สร้างคำในภาษาไทย
˜ การสร้างคำสมาส

๒. วิเคราะห์โครงสร้างประโยคสามัญประโยครวม และประโยคซ้อน

˜ ลักษณะของประโยคในภาษาไทย
- ประโยคสามัญ
- ประโยครวม
- ประโยคซ้อน

๓. แต่งบทร้อยกรอง
˜ กลอนสุภาพ

๔. ใช้คำราชาศัพท์
˜ คำราชาศัพท์

๕. รวบรวมและอธิบายความหมายของ   คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
˜ คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

ม.๓
๑. จำแนกและใช้คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
˜ คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

๒. วิเคราะห์โครงสร้างประโยคซับซ้อน
˜ ประโยคซับซ้อน

๓. วิเคราะห์ระดับภาษา
˜ ระดับภาษา

๔. ใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
˜ คำทับศัพท์
˜ คำศัพท์บัญญัติ

๕. อธิบายความหมายคำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ
˜ คำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ

๖. แต่งบทร้อยกรอง
˜ โคลงสี่สุภาพ
.-.
๑. อธิบายธรรมชาติของภาษา  พลังของภาษา และลักษณะของภาษา
˜ ธรรมชาติของภาษา 
˜ พลังของภาษา


˜ ลักษณะของภาษา
- เสียงในภาษา
ส่วนประกอบของภาษา
องค์ประกอบของพยางค์และคำ

๒. ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์

˜ การใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยค
- คำและสำนวน
- การร้อยเรียงประโยค
- การเพิ่มคำ 
- การใช้คำ
- การเขียนสะกดคำ

๓. ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม
˜ ระดับของภาษา
˜ คำราชาศัพท์

๔. แต่งบทร้อยกรอง

˜ กาพย์ โคลง ร่าย และฉันท์

๕. วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
˜ อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น


๖. อธิบายและวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทย 
˜ หลักการสร้างคำในภาษาไทย 


๗. วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
˜ การประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์

สาระที่ ๕    วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน ท ๕.๑  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
. บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก

˜ วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก เช่น
- นิทาน
- เรื่องสั้นง่ายๆ
- ปริศนาคำทาย
- บทร้องเล่น
- บทอาขยาน
- บทร้อยกรอง
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียน

ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด  และบทร้อยกรองตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรอง
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ
.
ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือ    การฟังวรรณกรรมสำหรับเด็ก   เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

˜ วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก เช่น
- นิทาน
- เรื่องสั้นง่ายๆ
- ปริศนาคำทาย
- บทอาขยาน
- บทร้อยกรอง
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียน

ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น


˜ บทร้องเล่นที่มีคุณค่า
    - บทร้องเล่นในท้องถิ่น
    - บทร้องเล่นในการละเล่นของเด็กไทย

ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
-  บทอาขยานตามที่กำหนด
-  บทร้อยกรองตามความสนใจ
ป.๓
ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
รู้จักเพลงพื้นบ้านและเพลงกล่อมเด็กเพื่อปลูกฝังความชื่นชมวัฒนธรรมท้องถิ่น
. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดี ที่อ่าน
˜ วรรณคดี วรรณกรรม และเพลงพื้นบ้าน
- นิทานหรือเรื่องในท้องถิ่น
- เรื่องสั้นง่ายๆ ปริศนาคำทาย
- บทร้อยกรอง
- เพลงพื้นบ้าน
- เพลงกล่อมเด็ก   
- วรรณกรรมและวรรณคดีในบทเรียนและ  ตามความสนใจ

.  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ
ป.๔

๑. ระบุข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านหรือนิทานคติธรรม
อธิบายข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง
˜ วรรณคดีและวรรณกรรม เช่น
- นิทานพื้นบ้าน
- นิทานคติธรรม
- เพลงพื้นบ้าน
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียนและตามความสนใจ

ร้องเพลงพื้นบ้าน
˜ เพลงพื้นบ้าน

๔. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ
ป.๕
สรุปเรื่องจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน
ระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง
อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม
˜ วรรณคดีและวรรณกรรม เช่น
- นิทานพื้นบ้าน
- นิทานคติธรรม
- เพลงพื้นบ้าน
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียนและตามความสนใจ

๔.  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ
ป.๖

 แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดี  หรือวรรณกรรมที่อ่าน
 เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง  และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น
 อธิบายคุณค่าของวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่านและนำไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง            
˜ วรรณคดีและวรรณกรรม เช่น
- นิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเองและท้องถิ่นอื่น
- นิทานคติธรรม 
- เพลงพื้นบ้าน
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียนและตามความสนใจ

๔. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ
ม.๑
สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
˜ วรรณคดีและวรรณกรรมเกี่ยวกับ   
- ศาสนา
- ประเพณี
- พิธีกรรม 
- สุภาษิตคำสอน
- เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 
- บันเทิงคดี 
- บันทึกการเดินทาง
- วรรณกรรมท้องถิ่น

วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม   ที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ
อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
˜ การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม           


ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
-   บทอาขยานตามที่กำหนด
-   บทร้อยกรองตามความสนใจ
ม.๒
สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้น

˜ วรรณคดีและวรรณกรรมเกี่ยวกับ
- ศาสนา
- ประเพณี
- พิธีกรรม
- สุภาษิต คำสอน
- เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 
- บันเทิงคดี 
- บันทึกการเดินทาง

วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีวรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่นที่อ่าน พร้อมยกเหตุผลประกอบ
อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
˜ การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณคดี วรรณกรรม  และวรรณกรรมท้องถิ่น

ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
-  บทอาขยานตามที่กำหนด
-  บทร้อยกรองตามความสนใจ
ม.๓
สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรมและวรรณกรรมท้องถิ่นในระดับที่ยากยิ่งขึ้น
˜ วรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่นเกี่ยวกับ
- ศาสนา
- ประเพณี
- พิธีกรรม 
- สุภาษิตคำสอน
- เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
- บันเทิงคดี 

๒. วิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน      เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
˜ การวิเคราะห์วิถีไทย และคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม                              


ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด  และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ
.-.
๑. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น


˜ หลักการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมเบื้องต้น
- จุดมุ่งหมายการแต่งวรรณคดีและวรรณกรรม
- การพิจารณารูปแบบของวรรณคดีและวรรณกรรม
- การพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
- การวิเคราะห์และการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

๒. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
˜ การวิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีและวรรณกรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต

๓. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
˜ การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
- ด้านวรรณศิลป์
- ด้านสังคมและวัฒนธรรม

๔. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
˜ การสังเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม


๕. รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญญาทางภาษา

˜ วรรณกรรมพื้นบ้านที่แสดงถึง
- ภาษากับวัฒนธรรม 
- ภาษาถิ่น

ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ




อภิธานศัพท์
กระบวนการเขียน
กระบวนการเขียนเป็นการคิดเรื่องที่จะเขียนและรวบรวมความรู้ในการเขียน กระบวนการเขียน  มี  ๕  ขั้น  ดังนี้
๑.  การเตรียมการเขียน  เป็นขั้นเตรียมพร้อมที่จะเขียนโดยเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียน           บนพื้นฐานของประสบการณ์   กำหนดรูปแบบการเขียน  รวบรวมความคิดในการเขียน  อาจใช้วิธีการอ่านหนังสือ  สนทนา   จัดหมวดหมู่ความคิด  โดยเขียนเป็นแผนภาพความคิด จดบันทึกความคิดที่จะเขียนเป็นรูปหัวข้อเรื่องใหญ่ หัวข้อย่อย และรายละเอียดคร่าวๆ
๒.  การยกร่างข้อเขียน  เมื่อเตรียมหัวข้อเรื่องและความคิดรูปแบบการเขียนแล้ว ให้นำความคิดมาเขียนตามรูปแบบที่กำหนดเป็นการยกร่างข้อเขียน โดยคำนึงถึงว่าจะเขียนให้ใครอ่าน จะใช้ภาษาอย่างไรให้เหมาะสมกับเรื่องและเหมาะกับผู้อื่น จะเริ่มต้นเขียนอย่างไร มีหัวข้อเรื่องอย่างไร ลำดับความคิดอย่างไร  เชื่อมโยงความคิดอย่างไร
๓.  การปรับปรุงข้อเขียน  เมื่อเขียนยกร่างแล้วอ่านทบทวนเรื่องที่เขียน ปรับปรุงเรื่องที่เขียนเพิ่มเติมความคิดให้สมบูรณ์ แก้ไขภาษา สำนวนโวหาร นำไปให้เพื่อนหรือผู้อื่นอ่าน  นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงอีกครั้ง
๔.  การบรรณาธิการกิจ   นำข้อเขียนที่ปรับปรุงแล้วมาตรวจทานคำผิด  แก้ไขให้ถูกต้อง  แล้วอ่านตรวจทานแก้ไขข้อเขียนอีกครั้ง แก้ไขข้อผิดพลาดทั้งภาษา ความคิด และการเว้นวรรคตอน
๕.  การเขียนให้สมบูรณ์    นำเรื่องที่แก้ไขปรับปรุงแล้วมาเขียนเรื่องให้สมบูรณ์  จัดพิมพ์    วาดรูปประกอบ  เขียนให้สมบูรณ์ด้วยลายมือที่สวยงามเป็นระเบียบ  เมื่อพิมพ์หรือเขียนแล้วตรวจทานอีกครั้งให้สมบูรณ์ก่อนจัดทำรูปเล่ม
กระบวนการคิด
การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นกระบวนการคิด คนที่จะคิดได้ดีต้องเป็นผู้ฟัง ผู้พูด ผู้อ่าน และผู้เขียนที่ดี บุคคลที่จะคิดได้ดีจะต้องมีความรู้และประสบการณ์พื้นฐานในการคิด บุคคลจะมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล  ข้อเท็จจริง  วิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินค่า  จะต้องมีความรู้และประสบการณ์พื้นฐานที่นำมาช่วยในการคิดทั้งสิ้น  การสอนให้คิดควรให้ผู้เรียนรู้จักคัดเลือกข้อมูล  ถ่ายทอด รวบรวม และจำข้อมูลต่างๆ สมองของมนุษย์จะเป็นผู้บริโภคข้อมูลข่าวสาร และสามารถแปลความข้อมูลข่าวสาร และสามารถนำมาใช้อ้างอิง  การเป็นผู้ฟัง ผู้พูด ผู้อ่าน และผู้เขียนที่ดี  จะต้องสอนให้เป็นผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารที่ดีและเป็นนักคิดที่ดีด้วย กระบวนการสอนภาษาจึงต้องสอนให้ผู้เรียนเป็นผู้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีทักษะการคิด นำข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการฟังและการอ่านนำมาสู่การฝึกทักษะการคิด นำการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน  มาสอนในรูปแบบ            บูรณาการทักษะ ตัวอย่าง เช่น การเขียนเป็นกระบวนการคิดในการวิเคราะห์ การแยกแยะ การสังเคราะห์ การประเมินค่า การสร้างสรรค์ ผู้เขียนจะนำความรู้และประสบการณ์สู่การคิดและแสดงออกตามความคิดของตนเสมอ ต้องเป็นผู้อ่านและผู้ฟังเพื่อรับรู้ข่าวสารที่จะนำมาวิเคราะห์และสามารถแสดงทรรศนะได้
กระบวนการอ่าน
การอ่านเป็นกระบวนการซึ่งผู้อ่านสร้างความหมายหรือพัฒนา การตีความระหว่างการอ่านผู้อ่านจะต้องรู้หัวข้อเรื่อง รู้จุดประสงค์ของการอ่าน มีความรู้ทางภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้ในหนังสือที่อ่าน  โดยใช้ประสบการณ์เดิมเป็นประสบการณ์ทำความเข้าใจกับเรื่องที่อ่าน กระบวนการอ่านมีดังนี้
๑.  การเตรียมการอ่าน   ผู้อ่านจะต้องอ่านชื่อเรื่อง หัวข้อย่อยจากสารบัญเรื่อง  อ่านคำนำ       ให้ทราบจุดมุ่งหมายของหนังสือ   ตั้งจุดประสงค์ของการอ่านจะอ่านเพื่อความเพลิดเพลินหรืออ่านเพื่อหาความรู้ วางแผนการอ่านโดยอ่านหนังสือตอนใดตอนหนึ่งว่าความยากง่ายอย่างไร หนังสือมีความยากมากน้อยเพียงใด  รูปแบบของหนังสือเป็นอย่างไร เหมาะกับผู้อ่านประเภทใด  เดาความว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร    เตรียมสมุด  ดินสอ  สำหรับจดบันทึกข้อความหรือเนื้อเรื่องที่สำคัญขณะอ่าน
๒.  การอ่าน   ผู้อ่านจะอ่านหนังสือให้ตลอดเล่มหรือเฉพาะตอนที่ต้องการอ่าน ขณะอ่านผู้อ่านจะใช้ความรู้จากการอ่านคำ   ความหมายของคำมาใช้ในการอ่าน   รวมทั้งการรู้จักแบ่งวรรคตอนด้วย การอ่านเร็วจะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีกว่าผู้อ่านช้า   ซึ่งจะสะกดคำอ่านหรืออ่านย้อนไปย้อนมา  ผู้อ่านจะใช้บริบทหรือคำแวดล้อมช่วยในการตีความหมายของคำเพื่อทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
๓.  การแสดงความคิดเห็น    ผู้อ่านจะจดบันทึกข้อความที่มีความสำคัญ   หรือเขียนแสดง   ความคิดเห็น    ตีความข้อความที่อ่าน    อ่านซ้ำในตอนที่ไม่เข้าใจเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้อง        ขยายความคิดจากการอ่าน   จับคู่กับเพื่อนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น   ตั้งข้อสังเกตจากเรื่องที่อ่าน   ถ้าเป็นการอ่านบทกลอนจะต้องอ่านทำนองเสนาะดังๆ   เพื่อฟังเสียงการอ่านและเกิดจินตนาการ
๔.  การอ่านสำรวจ   ผู้อ่านจะอ่านซ้ำโดยเลือกอ่านตอนใดตอนหนึ่ง ตรวจสอบคำและภาษา   ที่ใช้   สำรวจโครงเรื่องของหนังสือเปรียบเทียบหนังสือที่อ่านกับหนังสือที่เคยอ่าน สำรวจและเชื่อมโยงเหตุการณ์ในเรื่องและการลำดับเรื่อง  และสำรวจคำสำคัญที่ใช้ในหนังสือ
๕.  การขยายความคิด   ผู้อ่านจะสะท้อนความเข้าใจในการอ่าน  บันทึกข้อคิดเห็น  คุณค่าของเรื่อง  เชื่อมโยงเรื่องราวในเรื่องกับชีวิตจริง  ความรู้สึกจากการอ่าน  จัดทำโครงงานหลักการอ่าน     เช่น วาดภาพ  เขียนบทละคร   เขียนบันทึกรายงานการอ่าน  อ่านเรื่องอื่นๆ ที่ผู้เขียนคนเดียวกันแต่ง อ่านเรื่องเพิ่มเติม  เรื่องที่เกี่ยวโยงกับเรื่องที่อ่าน  เพื่อให้ได้ความรู้ที่ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น
การเขียนเชิงสร้างสรรค์
          การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นการเขียนโดยใช้ความรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการในการเขียน  เช่น  การเขียนเรียงความ   นิทาน   เรื่องสั้น   นวนิยาย   และบทร้อยกรอง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ผู้เขียนจะต้องมีความคิดดี    มีจินตนาการดี   มีคลังคำอย่างหลากหลาย    สามารถนำคำมาใช้     ในการเขียน    ต้องใช้เทคนิคการเขียน  และใช้ถ้อยคำอย่างสละสลวย
การดู
          การดูเป็นการรับสารจากสื่อภาพและเสียง และแสดงทรรศนะได้จากการรับรู้สาร  ตีความ  แปลความ วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าสารจากสื่อ เช่น การดูโทรทัศน์ การดูคอมพิวเตอร์ การดูละคร การดูภาพยนตร์ การดูหนังสือการ์ตูน (แม้ไม่มีเสียงแต่มีถ้อยคำอ่านแทนเสียงพูด) ผู้ดูจะต้องรับรู้สาร จากการดูและนำมาวิเคราะห์  ตีความ  และประเมินคุณค่าของสารที่เป็นเนื้อเรื่องโดยใช้หลักการพิจารณาวรรณคดีหรือการวิเคราะห์วรรณคดีเบื้องต้น เช่น แนวคิดของเรื่อง ฉากที่ประกอบเรื่องสมเหตุสมผล  กิริยาท่าทาง และการแสดงออกของตัวละครมีความสมจริงกับบทบาท โครงเรื่อง เพลง แสง  สี  เสียง  ที่ใช้ประกอบการแสดงให้อารมณ์แก่ผู้ดูสมจริงและสอดคล้องกับยุคสมัยของเหตุการณ์ที่จำลองสู่บทละคร  คุณค่าทางจริยธรรม  คุณธรรม  และคุณค่าทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อผู้ดูหรือผู้ชม  ถ้าเป็นการดูข่าวและเหตุการณ์  หรือการอภิปราย  การใช้ความรู้หรือเรื่องที่เป็นสารคดี  การโฆษณาทางสื่อจะต้องพิจารณาเนื้อหาสาระว่าสมควรเชื่อถือได้หรือไม่ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อหรือไม่ ความคิดสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก และการดูละครเวที ละครโทรทัศน์ ดูข่าวทางโทรทัศน์จะเป็นประโยชน์ได้รับความสนุกสนาน  ต้องดูและวิเคราะห์ ประเมินค่า สามารถแสดงทรรศนะของตนได้อย่างมีเหตุผล
การตีความ
          การตีความเป็นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่านและการใช้บริบท ได้แก่ คำที่แวดล้อมข้อความ  ทำความเข้าใจข้อความหรือกำหนดความหมายของคำให้ถูกต้อง
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายว่า การตีความหมาย ชี้หรือกำหนดความหมาย ให้ความหมายหรืออธิบาย ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนา และความมุ่งหมายเพื่อความถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงของภาษา
ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คำคำหนึ่งในสมัยหนึ่งเขียนอย่างหนึ่ง อีกสมัยหนึ่งเขียนอีกอย่างหนึ่ง  คำว่า  ประเทศ  แต่เดิมเขียน ประเทษ คำว่า  ปักษ์ใต้  แต่เดิมเขียน ปักใต้               ในปัจจุบันเขียน ปักษ์ใต้  คำว่า ลุ่มลึก  แต่ก่อนเขียน ลุ่มฦก   ภาษาจึงมีการเปลี่ยนแปลง  ทั้งความหมายและการเขียน   บางครั้งคำบางคำ เช่น คำว่า หล่อน เป็นคำสรรพนามแสดงถึงคำพูด สรรพนามบุรุษที่ ๓  ที่เป็นคำสุภาพ  แต่เดี๋ยวนี้คำว่า หล่อน  มีความหมายในเชิงดูแคลน เป็นต้น
การสร้างสรรค์
การสร้างสรรค์ คือ การรู้จักเลือกความรู้  ประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมมาเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ ความคิดใหม่ หรือสิ่งแปลกใหม่ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม บุคคลที่จะมีความสามารถในการสร้างสรรค์จะต้องเป็นบุคคลที่มีความคิดอิสระอยู่เสมอ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มองโลกในแง่ดี  คิดไตร่ตรอง  ไม่ตัดสินใจสิ่งใดง่ายๆ การสร้างสรรค์ของมนุษย์จะเกี่ยวเนื่องกันกับความคิด  การพูด  การเขียน  และการกระทำเชิงสร้างสรรค์   ซึ่งจะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นพื้นฐาน
ความคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นความคิดที่พัฒนามาจากความรู้และประสบการณ์เดิม  ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการพูด  การเขียน  และการกระทำเชิงสร้างสรรค์
การพูดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นการแสดงออกทางภาษาที่ใช้ภาษาขัดเกลาให้ไพเราะ งดงาม  เหมาะสม  ถูกต้องตามเนื้อหาที่พูดและเขียน
การกระทำเชิงสร้างสรรค์เป็นการกระทำที่ไม่ซ้ำแบบเดิมและคิดค้นใหม่แปลกไปจากเดิม และเป็นประโยชน์ที่สูงขึ้น
ข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลสารสนเทศ  หมายถึง  เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถ  สื่อความหมายด้วยการพูดบอกเล่า  บันทึกเป็นเอกสาร  รายงาน  หนังสือ  แผนที่  แผนภาพ  ภาพถ่าย  บันทึกด้วยเสียงและภาพ  บันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นการเก็บเรื่องราวต่างๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วยวิธีต่างๆ
ความหมายของคำ
คำที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารมีความหมายแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะ คือ
๑.  ความหมายโดยตรง เป็นความหมายที่ใช้พูดจากันตรงตามความหมาย  คำหนึ่งๆ นั้น อาจมีความหมายได้หลายความหมาย เช่น คำว่า กา อาจมีความหมายถึง ภาชนะใส่น้ำ  หรืออาจหมายถึง    นกชนิดหนึ่ง   ตัวสีดำ  ร้อง กา กา  เป็นความหมายโดยตรง
๒.  ความหมายแฝง   คำอาจมีความหมายแฝงเพิ่มจากความหมายโดยตรง มักเป็นความหมายเกี่ยวกับความรู้สึก  เช่น คำว่า ขี้เหนียว กับ ประหยัด   หมายถึง ไม่ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย  เป็นความหมายตรง แต่ความรู้สึกต่างกัน   ประหยัดเป็นสิ่งดี  แต่ขี้เหนียวเป็นสิ่งไม่ดี 
๓.  ความหมายในบริบท คำบางคำมีความหมายตรง เมื่อร่วมกับคำอื่นจะมีความหมายเพิ่มเติมกว้างขึ้น หรือแคบลงได้ เช่น คำว่า ดี  เด็กดี หมายถึง ว่านอนสอนง่าย   เสียงดี  หมายถึง ไพเราะ    ดินสอดี หมายถึง เขียนได้ดี  สุขภาพดี หมายถึง ไม่มีโรค  ความหมายบริบทเป็นความหมายเช่นเดียวกับความหมายแฝง
คุณค่าของงานประพันธ์  
เมื่อผู้อ่านอ่านวรรณคดีหรือวรรณกรรมแล้วจะต้องประเมินงานประพันธ์ ให้เห็นคุณค่าของงานประพันธ์   ทำให้ผู้อ่านอ่านอย่างสนุก   และได้รับประโยชน์จาการอ่านงานประพันธ์   คุณค่าของงานประพันธ์แบ่งได้เป็น  ๒  ประการ คือ
๑.  คุณค่าด้านวรรณศิลป์  ถ้าอ่านบทร้อยกรองก็จะพิจารณากลวิธีการแต่ง การเลือกเฟ้นถ้อยคำมาใช้ได้ไพเราะ  มีความคิดสร้างสรรค์  และให้ความสะเทือนอารมณ์   ถ้าเป็นบทร้อยแก้วประเภทสารคดี  รูปแบบการเขียนจะเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  วิธีการนำเสนอน่าสนใจ  เนื้อหามีความถูกต้อง    ใช้ภาษาสละสลวยชัดเจน  การนำเสนอมีความคิดสร้างสรรค์  ถ้าเป็นร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี องค์ประกอบของเรื่องไม่ว่าเรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน จะมีแก่นเรื่อง โครงเรื่อง  ตัวละครมีความสัมพันธ์กัน    กลวิธีการแต่งแปลกใหม่ น่าสนใจ ปมขัดแย้งในการแต่งสร้างความสะเทือนอารมณ์    การใช้ถ้อยคำสร้างภาพได้ชัดเจน   คำพูดในเรื่องเหมาะสมกับบุคลิกของ  ตัวละครมีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับชีวิตและสังคม
๒.  คุณค่าด้านสังคม เป็นคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะ         ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์   และคุณค่าทางจริยธรรม   คุณค่าด้านสังคม   เป็นคุณค่าที่ผู้อ่านจะ    เข้าใจชีวิตทั้งในโลกทัศน์และชีวทัศน์    เข้าใจการดำเนินชีวิตและเข้าใจเพื่อนมนุษย์ดีขึ้น   เนื้อหาย่อมเกี่ยวข้องกับการช่วยจรรโลงใจแก่ผู้อ่าน ช่วยพัฒนาสังคม  ช่วยอนุรักษ์สิ่งมีคุณค่าของชาติบ้านเมือง และสนับสนุนค่านิยมอันดีงาม
โครงงาน
โครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนด้วยการค้นคว้า  ลงมือปฏิบัติจริง  ในลักษณะของการสำรวจ  ค้นคว้า  ทดลอง  ประดิษฐ์คิดค้น   ผู้เรียนจะรวบรวมข้อมูล  นำมาวิเคราะห์  ทดสอบเพื่อแก้ปัญหาข้องใจ  ผู้เรียนจะนำความรู้จากชั้นเรียนมาบูรณาการในการแก้ปัญหา ค้นหาคำตอบ  เป็นกระบวนการค้นพบนำไปสู่การเรียนรู้   ผู้เรียนจะเกิดทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการจัดการ    ผู้สอนจะเข้าใจผู้เรียน เห็นรูปแบบการเรียนรู้  การคิด วิธีการทำงานของผู้เรียน  จากการสังเกตการทำงานของผู้เรียน
          การเรียนแบบโครงงานเป็นการเรียนแบบศึกษาค้นคว้าวิธีการหนึ่ง  แต่เป็นการศึกษาค้นคว้าที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา  เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนมีเหตุผล  สรุปเรื่องราวอย่างมีกฎเกณฑ์  ทำงานอย่างมีระบบ  การเรียนแบบโครงงานไม่ใช่การศึกษาค้นคว้าจัดทำรายงานเพียงอย่างเดียว  ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลและมีการสรุปผล
ทักษะการสื่อสาร 
ทักษะการสื่อสาร ได้แก่  ทักษะการพูด  การฟัง  การอ่าน  และการเขียน  ซึ่งเป็นเครื่องมือของการส่งสารและการรับสาร   การส่งสาร  ได้แก่  การส่งความรู้ ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึกด้วยการพูด และการเขียน  ส่วนการรับสาร  ได้แก่  การรับความรู้ ความเชื่อ  ความคิด   ด้วยการอ่านและการฟัง  การฝึกทักษะการสื่อสารจึงเป็นการฝึกทักษะการพูด  การฟัง  การอ่าน  และการเขียน  ให้สามารถ      รับสารและส่งสารอย่างมีประสิทธิภาพ


ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาเป็นคุณสมบัติของภาษาที่สำคัญ   มีคุณสมบัติพอสรุปได้   คือ   ประการ   ที่หนึ่ง ทุกภาษาจะประกอบด้วยเสียงและความหมาย  โดยมีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ในการใช้  อย่างเป็นระบบ   ประการที่สอง ภาษามีพลังในการงอกงามมิรู้สิ้นสุด หมายถึง มนุษย์สามารถใช้ภาษา สื่อความหมายได้โดยไม่สิ้นสุด  ประการที่สาม ภาษาเป็นเรื่องของการใช้สัญลักษณ์ร่วมกันหรือสมมติร่วมกัน  และมีการรับรู้สัญลักษณ์หรือสมมติร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกัน  ประการที่สี่       ภาษาสามารถใช้ภาษาพูดในการติดต่อสื่อสาร  ไม่จำกัดเพศของผู้ส่งสาร  ไม่ว่าหญิง  ชาย  เด็ก ผู้ใหญ่ สามารถผลัดกันในการส่งสารและรับสารได้  ประการที่ห้า ภาษาพูดย่อมใช้ได้ทั้งในปัจจุบัน อดีต         และอนาคต  ไม่จำกัดเวลาและสถานที่  ประการที่หก  ภาษาเป็นเครื่องมือการถ่ายทอดวัฒนธรรม    และวิชาความรู้นานาประการ  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
แนวคิดในวรรณกรรม
แนวคิดในวรรณกรรมหรือแนวเรื่องในวรรณกรรมเป็นความคิดสำคัญในการผูกเรื่องให้  ดำเนินเรื่องไปตามแนวคิด หรือเป็นความคิดที่สอดแทรกในเรื่องใหญ่ แนวคิดย่อมเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม  เป็นสารที่ผู้เขียนส่งให้ผู้อ่าน  เช่น  ความดีย่อมชนะความชั่ว  ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว        ความยุติธรรมทำให้โลกสันติสุข  คนเราพ้นความตายไปไม่ได้   เป็นต้น  ฉะนั้นแนวคิดเป็นสารที่ผู้เขียนต้องการส่งให้ผู้อื่นทราบ  เช่น  ความดี  ความยุติธรรม  ความรัก  เป็นต้น
บริบท
บริบทเป็นคำที่แวดล้อมข้อความที่อ่าน ผู้อ่านจะใช้ความรู้สึกและประสบการณ์มากำหนดความหมายหรือความเข้าใจ  โดยนำคำแวดล้อมมาช่วยประกอบความรู้และประสบการณ์  เพื่อทำ  ความเข้าใจหรือความหมายของคำ

พลังของภาษา 
ภาษาเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จึงสามารถเรียนรู้ภาษาเพื่อการดำรงชีวิต เป็นเครื่องมือของการสื่อสารและสามารถพัฒนาภาษาของตนได้   ภาษาช่วยให้คนรู้จักคิดและแสดงออกของความคิดด้วยการพูด   การเขียน   และการกระทำซึ่งเป็นผลจากการคิด   ถ้าไม่มีภาษา  คนจะคิดไม่ได้  ถ้าคนมีภาษาน้อย  มีคำศัพท์น้อย  ความคิดของคนก็จะแคบไม่กว้างไกล  คนที่ใช้ภาษาได้ดีจะมีความคิดดีด้วย   คนจะใช้ความคิดและแสดงออกทางความคิดเป็นภาษา   ซึ่งส่งผลไปสู่       การกระทำ  ผลของการกระทำส่งผลไปสู่ความคิด   ซึ่งเป็นพลังของภาษา  ภาษาจึงมีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์   ช่วยให้มนุษย์พัฒนาความคิด  ช่วยดำรงสังคมให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข          มีไมตรีต่อกัน  ช่วยเหลือกันด้วยการใช้ภาษาติดต่อสื่อสารกัน   ช่วยให้คนปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ของสังคม   ภาษาช่วยให้มนุษย์เกิดการพัฒนา ใช้ภาษาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปรายโต้แย้ง เพื่อนำไปสู่ผลสรุป   มนุษย์ใช้ภาษาในการเรียนรู้  จดบันทึกความรู้   แสวงหาความรู้  และช่วยจรรโลงใจ  ด้วยการอ่านบทกลอน  ร้องเพลง  ภาษายังมีพลังในตัวของมันเอง เพราะภาพย่อมประกอบด้วยเสียงและความหมาย  การใช้ภาษาใช้ถ้อยคำทำให้เกิดความรู้สึกต่อผู้รับสาร  ให้เกิดความจงเกลียดจงชังหรือเกิด ความชื่นชอบ  ความรักย่อมเกิดจากภาษาทั้งสิ้น  ที่นำไปสู่ผลสรุปที่มีประสิทธิภาพ
ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นเป็นภาษาพื้นเมืองหรือภาษาที่ใช้ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมของชาวพื้นบ้านที่ใช้พูดจากันในหมู่เหล่าของตน   บางครั้งจะใช้คำท่มีความหมายต่างกันไปเฉพาะถิ่น    บางครั้งคำที่ใช้พูดจากันเป็นคำเดียว  ความหมายต่างกันแล้วยังใช้สำเนียงที่ต่างกัน  จึงมีคำกล่าวที่ว่า  สำเนียง       บอกภาษา    สำเนียงจะบอกว่าเป็นภาษาอะไร  และผู้พูดเป็นคนถิ่นใด   อย่างไรก็ตามภาษาถิ่นในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นภาษาถิ่นเหนือ   ถิ่นอีสาน   ถิ่นใต้   สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้   เพียงแต่สำเนียงแตกต่างกันไปเท่านั้น
ภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาไทยมาตรฐานหรือบางทีเรียกว่า  ภาษาไทยกลางหรือภาษาราชการ  เป็นภาษาที่ใช้  สื่อสารกันทั่วประเทศและเป็นภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อให้คนไทยสามารถใช้ภาษาราชการ     ในการติดต่อสื่อสารสร้างความเป็นชาติไทย  ภาษาไทยมาตรฐานก็คือภาษาที่ใช้กันในเมืองหลวง ที่ใช้ติดต่อกันทั้งประเทศ มีคำและสำเนียงภาษาที่เป็นมาตรฐาน ต้องพูดให้ชัดถ้อยชัดคำได้ตามมาตรฐานของภาษาไทย  ภาษากลางหรือภาษาไทยมาตรฐานมีความสำคัญในการสร้างความเป็นปึกแผ่น วรรณคดีมีการถ่ายทอดกันมาเป็นวรรณคดีประจำชาติจะใช้ภาษาที่เป็นภาษาไทยมาตรฐานในการสร้างสรรค์งานประพันธ์  ทำให้วรรณคดีเป็นเครื่องมือในการศึกษาภาษาไทยมาตรฐานได้
ภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดเป็นภาษาที่ใช้พูดจากัน  ไม่เป็นแบบแผนภาษา  ไม่พิถีพิถันในการใช้แต่ใช้สื่อสารกันได้ดี  สร้างความรู้สึกที่เป็นกันเอง  ใช้ในหมู่เพื่อนฝูง  ในครอบครัว และติดต่อสื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการ  การใช้ภาษาพูดจะใช้ภาษาที่เป็นกันเองและสุภาพ  ขณะเดียวกันก็คำนึงว่าพูดกับบุคคลที่มีฐานะต่างกัน การใช้ถ้อยคำก็ต่างกันไปด้วย ไม่คำนึงถึงหลักภาษาหรือระเบียบแบบแผนการใช้ภาษามากนัก
ส่วนภาษาเขียนเป็นภาษาที่ใช้เคร่งครัดต่อการใช้ถ้อยคำ  และคำนึงถึงหลักภาษา  เพื่อใช้ในการสื่อสารให้ถูกต้องและใช้ในการเขียนมากกว่าพูด  ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ  เขียนให้เป็นประโยค  เลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสื่อสาร  เป็นภาษาที่ใช้ในพิธีการต่างๆ  เช่น  การกล่าวรายงาน  กล่าวปราศรัย  กล่าวสดุดี  การประชุมอภิปราย  การปาฐกถา  จะระมัดระวังการใช้คำที่ไม่จำเป็นหรือ คำฟุ่มเฟือย  หรือการเล่นคำจนกลายเป็นการพูดหรือเขียนเล่นๆ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) บางครั้งเรียกว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm)   ของคนในท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ เพื่อความอยู่รอด แต่คนในท้องถิ่นจะสร้างความรู้จากประสบการณ์และจากการปฏิบัติ  เป็นความรู้ ความคิด ที่นำมาใช้ในท้องถิ่นของตนเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ  ผู้รู้จึงกลายเป็น       ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษา  ยารักษาโรคและการดำเนินชีวิตในหมู่บ้านอย่างสงบสุข
ภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษาเป็นความรู้ทางภาษา  วรรณกรรมท้องถิ่น   บทเพลง   สุภาษิต   คำพังเพยในแต่ละท้องถิ่น  ที่ได้ใช้ภาษาในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ  เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมทางสังคมที่ต่างกัน โดยนำภูมิปัญญาทางภาษาในการสั่งสอนอบรมพิธีการต่างๆ  การบันเทิงหรือการละเล่น       มีการแต่งเป็นคำประพันธ์ในรูปแบบต่างๆ  ทั้งนิทาน  นิทานปรัมปรา  ตำนาน  บทเพลง  บทร้องเล่น  บทเห่กล่อม บทสวดต่างๆ  บททำขวัญ   เพื่อประโยชน์ทางสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำถิ่น


ระดับภาษา 
          ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่คนในสังคมจะต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องกับสถานการณ์และโอกาสที่ใช้ภาษา  บุคคลและประชุมชน การใช้ภาษาจึงแบ่งออกเป็นระดับของการใช้ภาษาได้หลายรูปแบบ     ตำราแต่ละเล่มจะแบ่งระดับภาษาแตกต่างกันตามลักษณะของสัมพันธภาพของบุคคลและสถานการณ์
การแบ่งระดับภาษาประมวลได้ดังนี้
๑.  การแบ่งระดับภาษาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
๑.๑  ภาษาที่ไม่เป็นทางการหรือภาษาที่เป็นแบบแผน เช่น การใช้ภาษาในการประชุม ในการกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น         
              ๑.๒  ภาษาที่ไม่เป็นทางการหรือภาษาที่ไม่เป็นแบบแผน เช่น การใช้ภาษาในการสนทนา การใช้ภาษาในการเขียนจดหมายถึงผู้คุ้นเคย การใช้ภาษาในการเล่าเรื่องหรือประสบการณ์ เป็นต้น
๒.  การแบ่งระดับภาษาที่เป็นพิธีการกับระดับภาษาที่ไม่เป็นพิธีการ การแบ่งภาษาแบบนี้เป็นการแบ่งภาษาตามความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นระดับ ดังนี้ 
๒.๑  ภาษาระดับพิธีการ  เป็นภาษาแบบแผน
๒.๒  ภาษาระดับกึ่งพิธีการ  เป็นภาษากึ่งแบบแผน
๒.๓  ภาษาระดับที่ไม่เป็นพิธีการ  เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน
๓.  การแบ่งระดับภาษาตามสภาพแวดล้อม โดยแบ่งระดับภาษาในระดับย่อยเป็น ๕ ระดับ คือ
๓.๑  ภาษาระดับพิธีการ  เช่น  การกล่าวปราศรัย การกล่าวเปิดงาน
๓.๒  ภาษาระดับทางการ  เช่น  การรายงาน การอภิปราย
๓.๓  ภาษาระดับกึ่งทางการ  เช่น  การประชุมอภิปราย การปาฐกถา
๓.๔  ภาษาระดับการสนทนา  เช่น  การสนทนากับบุคคลอย่างเป็นทางการ
๓.๕  ภาษาระดับกันเอง  เช่น  การสนทนาพูดคุยในหมู่เพื่อนฝูงในครอบครัว
วิจารณญาณ
วิจารณญาณ หมายถึง การใช้ความรู้ ความคิด ทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล การมีวิจารณญาณต้องอาศัยประสบการณ์ในการพิจารณาตัดสินสารด้วยความรอบคอบ  และอย่างชาญฉลาดเป็นเหตุเป็นผล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น