1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
การนำหลักสูตรไปใช้
ตอบ การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร
เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้
เช่น
หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ
นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้
และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้
นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ
ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย
และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย
และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp, 1975: 164-169) กล่าวถึง สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมาย
คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร และ ผู้บริหาร ครูใหญ่
ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จได้
จากเอกสารการประชุมของประเทศต่างๆ
ในเอเชีย (APEID, 1977: 29)
มีการทบทวนประสบการณ์ต่างของประเทศในเอเชีย
เรื่องยุทธศาสตร์การนำหลักสูตรไปใช้ได้สรุปเป็นหลักการที่สำคัญดังนี้
1.
วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมการแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและจัดเตรียมทรัพยากร
(มนุษย์และวัสดุ) ให้พร้อม
2. จัดหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้ให้ทำได้สะดวกเเละรวดเร็วขึ้น
3.
กำหนดแนวทางและกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน
รวมเหตุผลต่างๆที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลในการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
- การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
- การบริหารและบริการหลักสูตร
- การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
-
การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
- การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
- การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1.
การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3.
แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1.
การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2.
การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3.
การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่
และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4.
ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ
และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1.
ผู้บริหารโรงเรียน
2.
หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
3.
ครูผู้สอน
นอกจากนี้ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521:
140-141) อ้างจากหนังสือ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฏีการพัฒนาหลักสูตร
ได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่มีบทบาทในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดหมายมี 3 กลุ่ม
คือ ผู้บริหาร ครูประจำชั้น และชุมชน ในจำนวนนี้ครูใหญ่เป็นผู้ที่บทบาทมากที่สุดที่จะต้องศึกษาและวางแผนเกี่ยวการใช้หลักสูตรโดยมีขั้นตอนสรุปสั้นๆ
ดังนี้
1. เตรียมวางแผน
2. เตรียมจัดอบรม
3. การจัดครูเข้าสอน
4. การจัดตารางสอน
5. การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
6. การประชาสัมพันธ์
7.
การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8. การจัดโครงการประเมินผล
2.
แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้
เกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ การบริหารหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้
ตอบ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
การบริหารจัดการเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรของสถานศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบนั่นเอง
ซึ่งประกอบด้วย
งาน/ภารกิจที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการ 7 ภารกิจ คือ
1. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
ภารกิจที่ผู้บริหารและครูผู้สอนตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
มีดังนี้
1.1
สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรของสถานศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน
เพื่อให้เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.2
ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของสถานศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
1.3
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
หน่วยงาน/องค์กรในชุมชนทุกฝ่ายได้รับทราบ
และให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.4
จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นระบบ
1.5
จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
1.6
พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ
และสามารถนำความรู้ไปใช้จัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
2. การจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาและคณะอนุกรรมการระดับกลุ่มวิชา
จะต้องดำเนินการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษาดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ 2543 : 19)
2.1
ศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตรว่า
กำหนดสาระที่เป็นแกนกลางและสาระของท้องถิ่นไว้อย่างไร และมีความสอดคล้องสัมพันธ์และสมดุลอย่างไร
2.2
วิเคราะห์ขอบข่ายเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
ทั้งองค์ประกอบด้านความรู้ทักษะ/กระบวนการ
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
2.3
ศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความต้องการของชุมชนและสังคม
2.4
ปรับปรุงสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ต้องจัดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.5
ตรวจสอบความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชา
และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.6
วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายสาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ สัดส่วน
เวลาและหน่วยกิตตามที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด
2.7
พัฒนาแนวการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
นอกจากนี้ครูควรดำเนินการเพื่อให้การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาสมบูรณ์อีก
2 ประการ นั่นคือ กำหนดสื่อการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล
3. การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร
การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรหรือวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร
มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ 3 ส่วน คือ
3.1
การบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย การสอนซ่อมเสริม
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นต้น
3.2
การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น
การวางแผนให้ครูทุกคนสามารถแนะแนวผู้เรียนได้ทั้งด้านการศึกษา อาชีพและปัญหาอื่น ๆ
เป็นต้น
3.3 การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เช่น การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา
การส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
4. การปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตร
การดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามภารกิจที่สอง
หรือการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
และภารกิจที่สามหรือการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งสถานศึกษาได้กำหนดไว้
5. การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
การนิเทศ กำกับ
ติดตามและประเมินผลแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
5.1
การนิเทศ กำกับ
ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการภายในสถานศึกษา
5.2
การนิเทศ กำกับ
ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการจากภายนอกสถานศึกษา
6.
การสรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาจะต้องรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
สรุปและเขียนรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
และนำผลการรายงานเผยแพร่ให้ชุมชนหรือ สาธารณชนได้รับทราบ
7.
การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานและข้อมูลจากการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรทั้งหมด
จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในปีต่อ
ๆ ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น