1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “
การพัฒนาหลักสูตร ” ไว้ดังนี้
สงัด อุทรานันท์
ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า “ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า
“Development”
มีความหมายอยู่ 2ลักษณะ คือ•
การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
•
การทำให้เกิดขึ้นด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ
การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น
กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ทาบา (Taba)
ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล
และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ
และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน
หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
กู๊ด (Good)
ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน
จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
”
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor
and Alexander) ให้ความหมายว่า “
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร
อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น
ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร(Curriculum
Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล
และสภาพสังคม
การพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1.
การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลทางด้านความต้องการ
ความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง
ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา
ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม
เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน
โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ
มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป
และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น
โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม
เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
3.
การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว
ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ
ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้
จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า
เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง
แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม
ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
4.
การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ
มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ
และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน
การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร
การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร ฯลฯ
นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ 9 ปัจจัย โดยแบ่งเป็นปัจจัยหลัก
3 ประการ และปัจจัยสนับสนุน 6
ประการซึ่งแต่ละปัจจัยสรุปดังนี้
1. แรงจูงใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผู้บริหารโรงเรียนและผู้มีส่วนร่วมจะมีอิทธิพลอย่างมากที่จะจูงใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเพื่อนร่วมงานให้มีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งแรงจูงใจเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ ถ้าเริ่มต้นด้วยการจูงใจที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
เช่น ไม่มีการสนับสนุนด้านเวลา ทรัพยากร
ข้อมูล แต่ให้ทำงานใหญ่ หรือถ้าบรรยากาศของโรงเรียนที่ไม่เอื้ออำนวยก็จะเป็นอุปสรรคในการทำงานได้
ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ครูในโรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นในความพอใจที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นผู้ซึ่งช่วยกระตุ้นทีมงานให้วางงานประจำโดยใช้การจูงใจด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ซึ่งต้องใช้เวลาระยะยาวในการพัฒนาทีมงานทั้งหมดของโรงเรียน
2.
ความสนใจในแนวคิดของนวัตกรรม
แนวคิดของนวัตกรรมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแรงจูงใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ถ้าครูหรือผู้บริหารไม่สามารถนำเสนอแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจ ครูจะไม่เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังตัวอย่าง
ในประเทศอังกฤษผู้บริหารโรงเรียนจะเริ่มต้นโครงการโดยการเชิญบุคคลภายนอก เช่น
ผู้อำนวยการทางการศึกษามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3. การควบคุมการทำงาน
ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ควรทำให้ผู้มีส่วนร่วมในทีมงานพัฒนาหลักสูตรรู้สึกว่าไม่ถูกควบคุม
แต่สร้างให้มีความรับผิดชอบต่องานและได้แสดงความเป็นเจ้าของในงาน หากมีการควบคุมมากจากส่วนกลางที่มาจากนักพัฒนาหลักสูตร
จะเป็นการเสี่ยงอย่างมากต่อความล้มเหลวในการทำงาน
4. รูปแบบของกิจกรรม
กิจกรรมของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
สามารถจัดได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเวลา งบประมาณ และวัตถุประสงค์ กิจกรรมจะเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลผลิต เช่น
เน้นที่การจัดระบบองค์กรที่ดี
การสื่อสารที่เหมาะสม
ความสามารถของทีมงานที่จะร่วมกันแก้ปัญหา และขวัญกำลังใจของทีมงาน
เพราะการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทีมงานทั้งหมดของโรงเรียนหรืออย่างน้อยก็เกี่ยวข้องกับหมวดวิชา
5.
บรรยากาศของโรงเรียน
บรรยากาศของโรงเรียนหรือบรรยากาศขององค์กรเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยดูที่การให้การสนับสนุนของผู้บริหาร
การจูงใจครู ความสัมพันธ์ของสังคม
พิจารณาที่ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศขององค์กรและสรุปว่าการสนับสนุนของผู้บริหารเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดในความสำเร็จของกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
6.
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ
“การพัฒนาหลักสูตร: พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร”
ตอบ สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 1) กล่าวว่า วิชา
"การพัฒนาหลักสูตร" คือ รายวิชาและเนื้อหาที่ใช้ในการสอนระดับอุดมศึกษา
โดยเฉพาะสถาบันที่ทำหน้าที่ในการผลิตครู
จากคำว่า
"การพัฒนาหลักสูตร"
เราจะเห็นถึงคำสำคัญอยู่คำหนึ่งนั้นคือคำว่า "หลักสูตร"
ซึ่งผู้เขียนสามารถสรุปความหมายของคำว่าหลักสูตรได้ดังนี้
หลักสูตร คือ
กิจกรรมในการเรียนการสอนที่พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้
สุเทพ อ่วมเจริญ (2557:
10) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร
หมายถึงกระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้
โดยเฉพาะการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
จากแนวคิดดังกล่าวแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร คือ
แนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific manament) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มผลผลิต (product approach) ซึ่งได้แก่
Tyler (1949), Taba (1962), Saylor, Alexander และ Lewis
(1981) โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable
result) ในรูปแบบของความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือ พุทธิพิสัย
ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ตามแนวคิดของบลูม
3. แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้
เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทย ได้รับอิทธิพลหรือมีปัจจัยสำคัญใด
ตอบ 1. กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
2. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งใสเป็นธรรมและมีระบบการตวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาการบริหารจัดการ
เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
4. พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ภาคเอกชนและทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาและเรียนรู้ให้มากขึ้น
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น