1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แบบจำลองของไทเลอร์
ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา
การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
(ฉบับร่าง)
ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แสดงดังภาพประกอบที่1
ภาพประกอบ
1 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ที่มา
: Allan
C. Ornstien & Francis P. Hunkins, (1998 : 198).
ไทเลอร์มองว่า
นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม
ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต
ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา
มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ
1.
ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์
ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2.
โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3.
ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4.
ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา
ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น
หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้
ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย
ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
1.
ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2.
ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
3.
ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว
ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร 3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1.
พัฒนาทักษะการคิด
2.
ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3.
ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4.
ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น
โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
(Taba
1962: 10) มีทั้งหมด 7 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่
1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ขั้นที่
2 การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่
3 การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่
4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่
5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่
6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่
7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
ภาพประกอบ
2 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์
อเล็กซานเดอร์และเลวีส
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor
J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24)
นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร
ดังนี้
1.
จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรถูกเลือกหลังจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก
เช่น ผลการศึกษาจากการวิจัยทางการศึกษา การรับรองมาตรฐาน ความเห็นของกลุ่มสังคม
และอื่นๆ
2.
การออกแบบหลักสูตร
นักวางแผนลักสูตรต้องดำเนินการออกแบบหลักสูตร
ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
ระบุวันเวลาและวิธีการในโอกาสการเรียนรู้ดังกล่าว การออกแบบหลักสูตรคำนึงถึง
ธรรมชาติของวิชา รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สัมพันธ์กับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
3.
การนำหลักสูตรไปใช้
ผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน
โดยจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกกลยุทธวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้
4.
การประเมินหลักสูตร
นักวางแผนลักสูตรและผู้สอนร่วมกันประเมินด้วยการเลือกเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย
การประเมินมีจุดเน้น 2 ประเภท คือ 1)
การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน ประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์
จุดประสงค์การเรียน ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 2)
การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้
เพื่อตัดสินใจว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพเพียงใด
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์
อเล็กซานเดอร์และเลวีส ดังภาพประกอบ 3
ภาพประกอบ
3 แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวาเป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ
นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด
จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร ดังภาพประกอบ 4
ภาพประกอบ
4 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
ภาพประกอบ
5 แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
และจากภาพประกอบ 5 โอลิวา (Oliva.P.E
1992)
นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอนอย่างเป็นขั้นตอน
12 ตอน ดังนี้
ขั้นที่
1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
ขั้นที่
2 - วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม
ขั้นที่
3 และ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ 1 และ 2
ขั้นที่
5 - การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่
6 และ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
ขั้นที่
8 - การเลือกกลวิธีการสอน
ขั้นที่
9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
ขั้นที่
10 - การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ขั้นที่
11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
ขั้นที่
12 – การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย
วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่
ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2552 ดังภาพประกอบที่ 6
ภาพประกอบ
6 รูปแบบและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของวิชัย วงษ์ใหญ่
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1.
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม
มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร
โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2.
ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา
คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้
จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก
ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.
ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
4.
อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5.
ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4 ประการ คือ
5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น
บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ
ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
5.4 การประเมินผล
ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร:
ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร: แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร”
ตอบ สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 1) กล่าวว่า วิชา
"การพัฒนาหลักสูตร" คือ รายวิชาและเนื้อหาที่ใช้ในการสอนระดับอุดมศึกษา
โดยเฉพาะสถาบันที่ทำหน้าที่ในการผลิตครู
จากคำว่า
"การพัฒนาหลักสูตร"
เราจะเห็นถึงคำสำคัญอยู่คำหนึ่งนั้นคือคำว่า "หลักสูตร"
ซึ่งผู้เขียนสามารถสรุปความหมายของคำว่าหลักสูตรได้ดังนี้
หลักสูตร คือ
กิจกรรมในการเรียนการสอนที่พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้
สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 10)
ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงกระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้
โดยเฉพาะการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
จากแนวคิดดังกล่าวแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
คือ แนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific manament)
ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มผลผลิต (product approach) ซึ่งได้แก่ Tyler (1949), Taba (1962), Saylor, Alexander และ Lewis (1981) โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable
result) ในรูปแบบของความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือ พุทธิพิสัย
ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ตามแนวคิดของบลูม
3. แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้ จากคำกล่าวที่ว่า
“แบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตร มีพื้นฐานมาจากแบบจำลองเชิงเหตุผลของไทเลอร์
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร
ตอบ เห็นด้วย ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร
ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ประกอบด้วย
1. ข้อมูลผู้เรียน
2. ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
3. ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
นำข้อมูลจาก 3
แหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยง เพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น