1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
ปัญหาและแนวโน้มของหลักสูตร
ตอบ ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรคือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้
มีดังนี้
1.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
2.
ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
3.
ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
4.
ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร
การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ
ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า
ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้
รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ
1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนานจากคุณสมบัติของครู
มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) เสียง
2) รูปร่างหน้าตา
3) ความมั่นคงในอารมณ์
4) ความน่าเชื่อถือ
5) ความอบอุ่น
6) ความกระตือรือร้น
ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ
1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก
เทคนิควิธีสังเกตการณ์สอนชั้นเรียน เป็นต้น
ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์
และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้
1)
การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม
2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้
เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้น
ผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ
1990 การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา
สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้
ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่าคุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร
ครู และบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย
และข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร
2.
ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารณ์ พานิช.
วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ตอบ วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่
21
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
ครูเพื่อศิษย์ต้องไม่ใช่แค่มีใจ เอาใจใส่ศิษย์เท่านั้น ยังต้องมีทักษะในการ “จุดไฟ”ในใจศิษย์ ให้รักการเรียนรู้
ให้สนุกกับการเรียนรู้ หรือให้การเรียนรู้สนุกและกระตุ้น
ให้อยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต
ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” คือ
ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็กครูต้องตอบได้ว่า
ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้ เรียนสิ่งเหล่านั้น ครูต้องทำ อะไร ไม่ทำอะไร
ในสภาพเช่นนี้
ครูยิ่งมีความสําคัญมากขึ้น
และท้าทายครูทุกคน อย่างที่สุดที่จะไม่ทำหน้าที่ครูผิดทาง คือ ทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุก
หรือเรียนแบบขาด ทักษะสำคัญ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ต้อง “ก้าวข้ามสาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21”
(21st
Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate)
ในการเรียนรู้ ให้นักเรียน เรียนรู้จากการเรียน แบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจ และสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL
(Project-based Learning)
ครูเพื่อศิษย์ต้องเรียนรู้ทักษะในการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้เหมาะ
แก่วัยหรือพัฒนาการของศิษย์
สาระวิชาก็มีความสําคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลก
ยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนํา
และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้
ของตนเองได้
พานิชทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่
21 ได้แก่
สาระวิชาหลัก
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
หัวข้อสําหรับศตวรรษที่
21
• ความรู้เกี่ยวกับโลก
• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ
และการเป็นผู้ประกอบการ
• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
• ความรู้ด้านสุขภาพ
• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
• ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
• การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี
• ความรู้ด้านสารสนเทศ
• ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
• ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพ
• ความยืดหยุ่นและปรับตัว
• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (Productivity) และความรับผิดรับชอบ เชื่อถือได้ (Accountability)
• ภาวะผู้และความรับผิดชอบ (Responsibility)
นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
• มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
• หลักสูตรและการเรียนการสอนสําหรับศตวรรษที่
21
• การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
• สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่
2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น