วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม (Activity)


1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ตอบ  ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
        ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่จะนำมาใช้ดำเนินการการนำแนวคิดและรูปแบบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 วรรคสองที่กำหนดให้กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของสาระของหนักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
        ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น เป็นการพัฒนาหลักสูตรครบวงจร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ
        การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตในการเรียนการสอน รวมทั้งสิ่งที่คาดหวังให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์
           1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชน
           โรงเรียนมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ปลูกฝังเยาวชนในชุมชนให้เป็นพลเมืองที่ดีเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไป จึงต้องทราบข้อมูลชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนนั้นๆ ข้อมูลของชุมชนที่สำคัญมีดังนี้
               1.ข้อมูลทั่วไปของชุมชน เช่นแผนที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา จำนวนประชากร เพศ อายุ ศาสนาฯลฯ
               2.ข้อมูลด้านการศึกษา จำนวนผู้จบการศึกษาในระดับต่างๆ จำนวนนักเรียนในระดับต่างๆ ฯลฯ
               3.ข้อมูลศิลปวัฒนธรรม เช่นภาษาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ
               4.ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่นรายได้ อาชีพ
               5.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
               6.ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน เช่นยาเสพย์ติด มิจฉาชีพ โจร เป็นต้น
        วิธีการศึกษาชุมชน สามารถดำเนินการได้ดังนี้
            - ศึกษาแบบทุติยภูมิ (เอกสาร,งานวิจัย,สื่อสิ่งพิมพ์)
            - ศึกษาแบบปฐมภูมิ (สำรวจ,ลงพื้นที่,สอบถาม,สังเกต)
           1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
           บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ และสื่อต่างๆ ห้องต่างๆ ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสม
           1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
               1. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ให้พิจารณาจาก
                   1.1 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                   1.2 จุดประสงค์ของรายวิชา (ความมุ่งหวังที่ต้องการ)
                   1.3 เนื้อหาสาระ (โครงสร้างหลักสูตร)
                   1.4 กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้
               2. หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้พิจารณาจาก
                   2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
                   2.2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
                       - 8 กลุ่มสาระ
                       - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                   2.3 การจัดการเรียนรู้
                   2.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
               3. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
               ปรับมาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
                   3.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
                       - 8 กลุ่มสาระ (เท่าเดิม)
                       - วิสัยทัศน์
                       - พันธกิจ
                       - คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                       - สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                       - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                       -กิจกรรมสาธารณประโยชน์
                   3.2 การจัดการเรียนรู้
                   3.3 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
        ซึ่งสถานศึกษาควรนำข้อมูลทั้งสามอย่างนี้มาศึกษาและวิเคราะห์ ได้แก่ สภาพและความต้องการของชุมชน, ศักยภาพของโรงเรียน และหลักสูตรแกนกลาง
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร
        เป็นการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์หรือการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติตามเป้าหมายกำหนดไว้
        2.1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
        จุดประสงค์ทั่วไป คือเป้าหมายหรือสิ่งมุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกระชับ และต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
        จุดประสงค์การเรียนรู้ คือเป้าหมายที่มุ่งหวังจำแนกเรื่องและหัวข้อ เช่น ให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาเรียน ให้นักเรียนบอกความหมายของวิชาที่เรียนได้ เป็นต้น
        2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ
        ควรกำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร
        2.3 การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อต่างๆ
        ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน เนื้อหา จุดประสงค์ และหลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการสอน หรือกระทั่งสื่อต่างๆ
2.4 การกำหนดวิธีและประเมินผลผู้เรียน
        ต้องรู้ถึงคุณภาพของหลักสูตรนั้นๆ จึงต้องมีการประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้ทราบผมสัมฤทธิ์ของแผนการพัฒนาหลักสูตรอันจำเป็นต่อการพัฒนาในครั้งต่อๆไป
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
        เมื่อร่างหลักสูตรเสร็จ ต้องมีการตรวจสอบก่อนนำไปใช้ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
           - จุดประสงค์
           - เนื้อหาสาระ
           - การจัดการเรียนการสอน
           - กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
           - วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
        ทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยปรึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะจาก
             คณะทำงานร่างหลักสูตร
             ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
             ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
        คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ต้องกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประสานงาน เพื่อให้การสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
        นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” และการเรียนรู้ หมายถึง การปรับเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น การสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ (ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ) มีดังนี้
        1.การเรียนรู้โดยตนเอง คือการสร้างประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม วิทยาการ และโอกาส ให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ เกิดการคิด วิเคราะห์ ฝึกทักษะ ด้วยตนเอง
        2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือการเรียนรู้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ยังต้องเรียนรู้ตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมอันดีงาม และยึดมั่นในคุณธรรม
        3.  การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ คือ การเรียนรู้ในทักษะชีวิตที่สำคัญ ในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เช่นการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น รวมถึง ความรู้ด้านสุขศึกษา เช่น เพศศึกษา ยาเสพติด การแก้ไขปัญหาภายในครอบครัวอีกด้วย ส่วนการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ก็คือการเข้าใจในศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวในการประกอบอาชีพนั่นเอง
        4. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ในการฝึกประสบการณ์และปฏิบัติ เพื่อผจญกับปัญหาจริง และสามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
        5. การเรียนโดยผสมผสานความรู้ คือการเรียนความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจผู้เรียน
        6.  การฝึกการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นประชาธิปไตย คือการเรียนรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น, ความเสมอภาค, หน้าที่, และศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        7. การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และและมีความรัก ความหวงแหน ต่อคุณค่าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย
        8.  การวิจัยเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ คือการรวบรวมข้อมูล เพื่อการแก้ไข และเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงการประเมินคุณภาพ
        9.  การเรียนรู้ด้วยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน คือการที่ครอบครัว, ชุมชน, และสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
        10.การประเมินผู้เรียน คือ กระบวนการพิจารณาผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ โดยใช้เครื่องมือ เช่น การประเมินผลตามจริง แฟ้มผลงาน การสังเกต การสัมภาษณ์ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา กรุงเทพฯ: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด 2552
ตอบ  หลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา
         1. หลักสูตรแกนกลาง หมายถึง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีรายละเอียดแสดงให้เห็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งสำหรับการจัดการศึกษาทุกกลุ่ม เช่น การศึกษาพิเศษ การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน
         2. หลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง หลักสูตรระดับท้องถิ่นซึ่งสถานศึกษานำข้อมูลสภาพที่เป็นปัญหาหรือความต้องการในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพังประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มาจัดทำสาระของหลักสูตร และจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบหรือแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
         3. มาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของแต่ละกลุ่มเพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น 2 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นมาตรฐานการเรียน รู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนจบในแต่ ละช่วงชั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 การเสนอร่างหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา(ฉบับปรับปรุง)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณา ซึ่งร่างหลักสูตรนี้ ยังคงจัดโครงสร้างหลักสูตรเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ สาระวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
         สำหรับเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนตัวชี้วัดเป็นรายปี จากที่เคยกำหนดเป็นตัวชี้วัดช่วงชั้น และเขียนตัวชี้วัดให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ที่สำคัญมีการกำหนดกรอบการจัดสรรเวลาเรียนสำหรับแต่ละระดับชั้น ด้วย โดยระดับประถมศึกษาให้มีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง ระดับ ม.ต้น วันละประมาณ 5-6 ชั่วโมง ระดับ ม.ปลาย ไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมงอีกทั้งยังมีการกำหนดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มวิชา โดย กลุ่มวิชาภาษาไทยและ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ ป.1 – ป.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 200 ชั่วโมง ชั้น ป.4-ป.6 ปีละ 160 ชั่วโมง ม.ต้น ปีละ 120 ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาให้มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าปีละ 80 ชั่วโมง ในระดับ ป.1 – ป.6 ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมงกลุ่มวิชาสุขศึกษาฯ ,การงานฯ และศิลปะ ระดับ ป.1 - ม.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 80 ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ป.1 – ป.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 40 ชั่วโมง ป.4-ป.6 .ปีละ 80 ชั่วโมง ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง นอกจากนั้นให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมงด้วยอย่างไรก็ดี ได้มอบให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาและรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นให้เหมาะสมทั้งหมด ระดับประถมศึกษา จะมีเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาไม่เกินปีละ 1,000 ชั่วโมงต่อวิชา ม.ต้น ไม่เกินปีละ 1,200 ชั่วโมงต่อวิชา และ ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่เกิน 3,600 ชั่วโมงในแต่ละวิชานางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า กรรมการ กพฐ.ได้รับร่างหลักสูตร ไปพิจารณาแล้ว โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ตัวชี้วัดที่ปรับใหม่นั้น ควรจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนที่สร้างกระบวนการคิดให้กับเด็ก ไม่ต้องการให้ตัวชี้วัดไปส่งเสริมการเรียนแบบเน้นเนื้อหา เพราะความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเด็กรู้จกกกระบวนการเรียนรู้แล้ว จะนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ต้องมีการจัดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา เพราะหลักสูตรเดิมให้โรงเรียนจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชา ผลทำให้การจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่ ร.ร.จะจัดเวลาเรียนให้วิชาใดมากหรือน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับครูที่ตัวเองมี เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชาไว้
         อย่างไรก็ตาม หลักจากได้ข้อสรุปแล้ว ทาง สพฐ.จะนำร่างหลักสูตรฯ ไปจัดประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็นใน 4 ภูมิภาค แล้วนำความเห็นที่ได้จากการประชาพิจารณา รวมทั้งความเห็นของ กพฐ. มาปรับปรุง ร่าง หลักสูตรฯ อีกครั้ง ก่อนนำหลักสูตรไปใช้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น