วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กิจกรรม (Activity)
1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
ปัญหาและแนวโน้มของหลักสูตร
ตอบ ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรคือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้
มีดังนี้
1.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
2.
ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
3.
ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
4.
ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร
การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ
ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า
ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้
รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ
1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนานจากคุณสมบัติของครู
มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) เสียง
2) รูปร่างหน้าตา
3) ความมั่นคงในอารมณ์
4) ความน่าเชื่อถือ
5) ความอบอุ่น
6) ความกระตือรือร้น
ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ
1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก
เทคนิควิธีสังเกตการณ์สอนชั้นเรียน เป็นต้น
ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์
และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้
1)
การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม
2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้
เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้น
ผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ
1990 การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา
สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้
ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่าคุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร
ครู และบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย
และข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร
2.
ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารณ์ พานิช.
วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ตอบ วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่
21
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
ครูเพื่อศิษย์ต้องไม่ใช่แค่มีใจ เอาใจใส่ศิษย์เท่านั้น ยังต้องมีทักษะในการ “จุดไฟ”ในใจศิษย์ ให้รักการเรียนรู้
ให้สนุกกับการเรียนรู้ หรือให้การเรียนรู้สนุกและกระตุ้น
ให้อยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต
ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” คือ
ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็กครูต้องตอบได้ว่า
ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้ เรียนสิ่งเหล่านั้น ครูต้องทำ อะไร ไม่ทำอะไร
ในสภาพเช่นนี้
ครูยิ่งมีความสําคัญมากขึ้น
และท้าทายครูทุกคน อย่างที่สุดที่จะไม่ทำหน้าที่ครูผิดทาง คือ ทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุก
หรือเรียนแบบขาด ทักษะสำคัญ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ต้อง “ก้าวข้ามสาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21”
(21st
Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate)
ในการเรียนรู้ ให้นักเรียน เรียนรู้จากการเรียน แบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจ และสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL
(Project-based Learning)
ครูเพื่อศิษย์ต้องเรียนรู้ทักษะในการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้เหมาะ
แก่วัยหรือพัฒนาการของศิษย์
สาระวิชาก็มีความสําคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลก
ยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนํา
และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้
ของตนเองได้
พานิชทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่
21 ได้แก่
สาระวิชาหลัก
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
หัวข้อสําหรับศตวรรษที่
21
• ความรู้เกี่ยวกับโลก
• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ
และการเป็นผู้ประกอบการ
• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
• ความรู้ด้านสุขภาพ
• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
• ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
• การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี
• ความรู้ด้านสารสนเทศ
• ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
• ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพ
• ความยืดหยุ่นและปรับตัว
• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (Productivity) และความรับผิดรับชอบ เชื่อถือได้ (Accountability)
• ภาวะผู้และความรับผิดชอบ (Responsibility)
นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
• มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
• หลักสูตรและการเรียนการสอนสําหรับศตวรรษที่
21
• การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
• สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่
2
กิจกรรม (Activity)
1.
การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร
ตอบ มีความจำเป็น
1.
ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด
ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2.
สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ
และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3.
ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ
ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง
4.
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5.
ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี
ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6.
ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7.
ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ เพราะมีเครื่องมือ
และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8.
ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
9.
ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร
ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน
2.
การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้มีจุดประสงค์สำคัญคืออะไร
ตอบ แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ
ดังนี้
1. การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน
3.
เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา
4.
เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
ทาบา (Taba, 1962 : 310) ได้กล่าวไว้ว่า
การประเมินหลักสูตรทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ
ที่กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ
คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน
ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน
จุดมุ่งหมายการประเมิน
-
การประเมินการนำไปใช้และผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร
-
การประเมินหลักสูตรหลังนำหลักสูตรไปใช้
-
การประเมินระบบหลักสูตร
กิจกรรม (Activity)
1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
การนำหลักสูตรไปใช้
ตอบ การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร
เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้
เช่น
หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ
นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้
และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้
นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ
ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย
และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย
และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp, 1975: 164-169) กล่าวถึง สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมาย
คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร และ ผู้บริหาร ครูใหญ่
ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จได้
จากเอกสารการประชุมของประเทศต่างๆ
ในเอเชีย (APEID, 1977: 29)
มีการทบทวนประสบการณ์ต่างของประเทศในเอเชีย
เรื่องยุทธศาสตร์การนำหลักสูตรไปใช้ได้สรุปเป็นหลักการที่สำคัญดังนี้
1.
วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมการแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและจัดเตรียมทรัพยากร
(มนุษย์และวัสดุ) ให้พร้อม
2. จัดหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้ให้ทำได้สะดวกเเละรวดเร็วขึ้น
3.
กำหนดแนวทางและกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน
รวมเหตุผลต่างๆที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลในการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
- การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
- การบริหารและบริการหลักสูตร
- การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
-
การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
- การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
- การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1.
การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3.
แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1.
การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2.
การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3.
การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่
และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4.
ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ
และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1.
ผู้บริหารโรงเรียน
2.
หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
3.
ครูผู้สอน
นอกจากนี้ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521:
140-141) อ้างจากหนังสือ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฏีการพัฒนาหลักสูตร
ได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่มีบทบาทในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดหมายมี 3 กลุ่ม
คือ ผู้บริหาร ครูประจำชั้น และชุมชน ในจำนวนนี้ครูใหญ่เป็นผู้ที่บทบาทมากที่สุดที่จะต้องศึกษาและวางแผนเกี่ยวการใช้หลักสูตรโดยมีขั้นตอนสรุปสั้นๆ
ดังนี้
1. เตรียมวางแผน
2. เตรียมจัดอบรม
3. การจัดครูเข้าสอน
4. การจัดตารางสอน
5. การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
6. การประชาสัมพันธ์
7.
การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8. การจัดโครงการประเมินผล
2.
แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้
เกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ การบริหารหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้
ตอบ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
การบริหารจัดการเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรของสถานศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบนั่นเอง
ซึ่งประกอบด้วย
งาน/ภารกิจที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการ 7 ภารกิจ คือ
1. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
ภารกิจที่ผู้บริหารและครูผู้สอนตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
มีดังนี้
1.1
สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรของสถานศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน
เพื่อให้เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.2
ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของสถานศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
1.3
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
หน่วยงาน/องค์กรในชุมชนทุกฝ่ายได้รับทราบ
และให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.4
จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นระบบ
1.5
จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
1.6
พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ
และสามารถนำความรู้ไปใช้จัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
2. การจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาและคณะอนุกรรมการระดับกลุ่มวิชา
จะต้องดำเนินการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษาดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ 2543 : 19)
2.1
ศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตรว่า
กำหนดสาระที่เป็นแกนกลางและสาระของท้องถิ่นไว้อย่างไร และมีความสอดคล้องสัมพันธ์และสมดุลอย่างไร
2.2
วิเคราะห์ขอบข่ายเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
ทั้งองค์ประกอบด้านความรู้ทักษะ/กระบวนการ
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
2.3
ศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความต้องการของชุมชนและสังคม
2.4
ปรับปรุงสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ต้องจัดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.5
ตรวจสอบความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชา
และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.6
วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายสาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ สัดส่วน
เวลาและหน่วยกิตตามที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด
2.7
พัฒนาแนวการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
นอกจากนี้ครูควรดำเนินการเพื่อให้การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาสมบูรณ์อีก
2 ประการ นั่นคือ กำหนดสื่อการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล
3. การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร
การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรหรือวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร
มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ 3 ส่วน คือ
3.1
การบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย การสอนซ่อมเสริม
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นต้น
3.2
การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น
การวางแผนให้ครูทุกคนสามารถแนะแนวผู้เรียนได้ทั้งด้านการศึกษา อาชีพและปัญหาอื่น ๆ
เป็นต้น
3.3 การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เช่น การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา
การส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
4. การปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตร
การดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามภารกิจที่สอง
หรือการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
และภารกิจที่สามหรือการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งสถานศึกษาได้กำหนดไว้
5. การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
การนิเทศ กำกับ
ติดตามและประเมินผลแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
5.1
การนิเทศ กำกับ
ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการภายในสถานศึกษา
5.2
การนิเทศ กำกับ
ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการจากภายนอกสถานศึกษา
6.
การสรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาจะต้องรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
สรุปและเขียนรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
และนำผลการรายงานเผยแพร่ให้ชุมชนหรือ สาธารณชนได้รับทราบ
7.
การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานและข้อมูลจากการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรทั้งหมด
จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในปีต่อ
ๆ ไป
กิจกรรม (Activity)
1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ หลักสูตรท้องถิ่นและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่นพอสรุปได้ ดังนี้ ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539,
หน้า 107) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง
มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการของ
ท้องถิ่นนั้นๆ วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์
(2542, หน้า 124) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น คือ
การนำหลักสูตร
แกนกลางทั้งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนามาจากส่วนกลาง
มาปรับขยายหรือเพิ่ม หรือสร้างหลักสูตรย่อยขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่
และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
อุดม เชยกีวงศ์ (2545,หน้า 6) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง
หลักสูตรที่สถานศึกษาหรือครูหรือผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตจริงเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้
สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข
สำลี ทองธิว (2543,
หน้า 18 อ้างถึงใน ณัฐกานต์ เรือนคำ, 2546,
หน้า 13) ได้กล่าวไว้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง ดังนี้
1.
เนื้อหาสาระ โครงสร้าง การจัดเวลา การบริหารหลักสูตร ซึ่งมาจากความต้องการของคนในท้องถิ่นเป็นสาระ
แนวคิด หลักการที่คนในท้องถิ่นให้ความสำคัญ
และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นนั้นๆ
2.
เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างอย่างเท่าเทียมกันครูและผู้บริหาร
โรงเรียน
3.
เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการประเมินนักเรียน
หรือค้นหาความรู้ทัศนะในการเป็นคนในชุมชน
4.
เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ความเป็นท้องถิ่นกับความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้
เป็นการพัฒนาท้องถิ่นลักษณะเพื่อความยั่งยืนของท้องถิ่นนั้นๆ
จากความหมายที่ศึกษา
สรุปตามกรอบความคิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของผู้วิจัยได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น
หมายถึง หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
โดยการขยายสาระที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามสาระและมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้วในสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณสมบัติอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
สังคมและประเทศชาติ
เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
สงัด อุทรานันท์ (2532,
หน้า 311)
ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นว่า
หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับหลักการของการพัฒนาหลักสูตรได้มากที่สุดด้วยเหตุผล
ดังต่อไปนี้
1.
ตามหลักการของหลักสูตรนั้น หลักสูตรที่สร้างขึ้นจำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสนองความต้องการของสังคมชุมชนที่ใช้หลักสูตรนั้นๆ
โดยเหตุนี้หากหลักสูตรที่สร้างขึ้นมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้ในชุมชนแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะก็ย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนนั้นได้มากที่สุด
2.
ในการพัฒนาหลักสูตรได้มีการยอมรับความสำคัญของผู้ใช้และให้ผู้ใช้หลักสูตรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ในทางปฏิบัติหากหลักสูตรได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในระดับชุมชนที่ไม่กว้างขวางมากนักก็ย่อมสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใช้หลักสูตรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรได้
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539,
หน้า 109-110) กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น
สรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บท
ได้กำหนดจุดหมาย เนื้อหาสาระ และกิจกรรมอย่างกว้างๆ
เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้คล้ายคลึงกัน ทำให้กระบวนการเรียนการสอนมุ่ง
เนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่เป็นหลักการทั่วไป
ไม่สาสามารถประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสาระความรู้ตามสภาพของท้องถิ่นได้
จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ
2.
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง
และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิต
เพื่อให้นำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาท้องถิ่น
ตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นสุข
3.
การเรียนรู้ที่ดีควรจะเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปยังสิ่งที่ไกลตัว
เพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถดูดซับได้เร็วกว่า
จึงควรมีหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ชีวิตจริงตามสภาพของท้องถิ่น
ช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกผันต่อท้องถิ่น
4. ทรัพยากรท้องถิ่น
โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยหลักสูตรท้องถิ่นสามารถเอาทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหลายมาใช้ในการเรียนการสอนได้
นอกจากนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544
ยังกำหนดให้สถานศึกษาสร้างหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกิดจากการที่สถานศึกษานำสภาพต่างๆ
ที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
สังคมและประเทศชาติ
มากำหนดเป็นสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลาง
และเพิ่มเติมสาระและมาตรฐานการเรียนรู้หรือรายวิชาได้ตามความถนัด
ความสนใจของผู้เรียน โดยความร่วมมือของ ทุกคนในโรงเรียนและชุมชน
หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพต้องเป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากข้อมูลสารสนเทศด้านต่างๆของ
สถานศึกษาและชุมชน
สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการระดมทรัพยากรทั้งของ
สถานศึกษาและชุมชนมาอย่างคุ้มค่า เต็มตามศักยภาพ (กรมวิชาการ,
2545 ค. หน้า 5-6)
สรุปได้ว่า
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมากเพราะนอกจากภาระที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแล้ว
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำเพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในชุมชนท้องถิ่นของตน
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
สงัด อุทรานันท์ (2532,
หน้า 312-314) ได้เสนอวิธีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2 ลักษณะ คือ
1.
การประเมินหลักสูตรแกนกลางให้เข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น
เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลักสูตรในส่วนกลางและได้ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ
เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีมาตรฐานขั้นต่ำทางด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้กว้างขวางในระดับประเทศเช่นนี้จึงมีเนื้อหาสาระซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นอยู่บ้าง
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการปรับเนื้อหาของหลักสูตรบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของท้องถิ่นได้
2.
การสร้างหลักสูตรย่อยในระดับท้องถิ่นขึ้นมาเสริมหลักสูตรแกนกลาง
สำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
อุดม เชยกีวงศ์ (2545, หน้า 33-37)
กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้
1. การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน
เป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของชุมชนและผู้เรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างแท้จริง
2.
การวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดความต้องการ
3. การจัดทำผังหลักสูตร
4. การเขียนแผนการสอน
4.1 การกำหนดหัวข้อเรื่อง
4.2 การเขียนสาระสำคัญ
4.3 การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
4.4
การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง
4.5
การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
4.6
การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.7 การกำหนดสื่อการเรียนการสอน
5. การจัดการเรียนการสอน
6. การประเมินผล
สงัด อุทรานันท์ (2532,
หน้า 314-315) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับท้องถิ่น
ให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 จัดตั้งคณะทำงาน
ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นที่ 3
กำหนดจุดมุ่งหมายสำหรับหลักสูตรท้องถิ่น
ขั้นที่ 4
พิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรกลางกับสภาพของท้องถิ่น
ขั้นที่ 5
ดำเนินการเลือกเนื้อหาสาระของหลักสูตร และ/หรือจัดสร้างรายวิชาขึ้นมาใหม่
ขั้นที่ 6 ดำเนินการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 7 ประเมินผลการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 8 ทำการปรับปรุงแก้ไข
นอกจากนี้ นิรมล ศตวุฒิ (2543,
หน้า 119-120) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามขั้นตอน
ดังนี้
1. จัดตั้งคณะทำงาน
2. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
3. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
4.
เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
5.
กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6. ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้
7. เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
8. นำหลักสูตรไปใช้
9. ประเมินหลักสูตร
2.
ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร:
ทฤษฎีและการปฏิบัติ “ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร: ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU
Model”
ตอบ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด แบบจำลอง SU
Model
SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม
ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1)
พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม
โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2
ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล
เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง ด้านผู้เรียน
กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง
มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
(Reconstructionism)
โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม
เนื่องจากสังคมมีปัญหา
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่)
จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum
Planning) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามที่หนึ่งคือ
มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร
มีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum
Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
มาจัดทำกรอบปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้น
จะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือ
มีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ
มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา
การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการ และด้านการพัฒนาผู้เรียน หรือ
การออกแบบหลักสูตรมุ่งเน้นความรู้ตามหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระ และผลผลิตของหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมาย (aim)
และจุดมุ่งหมาย (goal) ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สาม
เป็นการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก
ในทางปฏิบัติการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร
สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์
คือจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง
การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ
กระบวนการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ
รวมถึงการนิเทศการศึกษา
การนิเทศการสอนจะมีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum
Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์คือ
ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน
ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)