P = Generating
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช
2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
อาศัยความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 80
ที่กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการพัฒนาทางด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา
และวัฒนธรรม โดยมติเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสมัยนายกรัฐมนตรีสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านความรู้
คุณธรรม ร่างกาย และจิตใจ หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งเน้นให้ผู้เรียน “เก่ง ดี
มีสุข” ภายใต้แนวคิดที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
โดยมีหลักการที่สำคัญคือ เน้นให้หลักสูตรมีเอกภาพ
เป็นไปเพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทั่วถึง สังคมมีส่วนร่วม หลักสูตรมีโครงสร้างที่สามารถปรับยืดหยุ่นได้
มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
โดยมาตรฐานที่เป็นตัวบ่งชี้การพัฒนาของผู้เรียนประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ
1.
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คือ คุณสมบัติเป้าหมายที่หลักสูตรคาดหวังจากการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้
ได้แก่
(1)
ความสามารถในการสื่อสาร
(2)
ความสามารถในการคิด
(3)
ความสามารถในการแก้ปัญหา
(4)
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
(5)
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
2.
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นคุณสมบัติที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานคาดหวังจากการพัฒนาผู้เรียน
มี 8 ประการ คือ
(1)
รักชาติ ศาสนา กษัตริย์
(2)
ซื่อสัตย์สุจริต
(3)
มีวินัย
(4)
ใฝ่เรียนรู้
(5)
อยู่อย่างพอเพียง
(6)
มุ่งมั่นในการทำงาน
(7)
รักความเป็นไทย
(8)
มีจิตสาธารณะ
ทั้งสองส่วนนี้คือ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
จะสอดแทรกอยู่ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
มาตรฐานการเรียนรู้ คือ
เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ย่อยลงมาจากสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ซึ่งระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้พึงปฏิบัติได้
โดยจะไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีอยู่ 8 กลุ่มสาระ รวมเป็นจำนวน 67
มาตรฐาน
สาระการเรียนรู้
ประกอบด้วยองค์ความรู้
ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้
โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ
1.
ภาษาไทย
2.
คณิตศาสตร์
3.
วิทยาศาสตร์
4.
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5.
สุขศึกษาและพลศึกษา
6.
ศิลปะ
7.
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8.
ภาษาต่างประเทศ
ตัวชี้วัด คือเป้าหมายระดับย่อยที่สุดที่อยู่ในรูปของรายละเอียดพฤติกรรมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่ระบุไว้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้
ซึ่งจะระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น โดยตัวชี้วัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ได้แก่
1.
ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ
(ป.1-
ม.3)
2.
ตัวชี้วัดช่วงชั้น
เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3
ลักษณะ ดังนี้
1.
กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน แบ่งเป็น
-
กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร
-กิจกรรมชุมนุม
ชมรม
3.
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช
2546
เกิดขึ้นจากความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม
กระตุ้นพ่อแม่ ผู้ปกครองหันมาส่งเสริมบุตรหลานให้ได้รับการศึกษามากขึ้น เพื่อลดปัญหาความบกพร่องทางพัฒนาการในเด็กไทย
และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 จัดทำขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ของการศึกษาปฐมวัยว่าเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง
5 ปี ให้เป็นไปตามธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ
ภายใต้ความรักและความเข้าใจ
เพื่อสร้างรากฐานให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
มีหลักการสำคัญที่มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
ยึดเด็กเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาเด็กเป็นองค์รวม
เน้นให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ
โดยมีเครือข่ายความร่วมมือจากครอบครัวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า
3 ปี และ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี โดยในแต่ละช่วงจะมีจุดหมาย
คุณลักษณะตามวัยที่คาดหวัง และโครงสร้างหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป
จุดหมายโดยรวมเป็นการมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์
จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ
และความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
จุดมุ่งหมายและนโยบายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยยึดตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546
โดยมีจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัยตามปรัชญาการศึกษาว่า
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่เกิดแรกถึง
5 ปี* (5ปี 11 เดือน 29 วัน)
บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ
ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน
เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพ
ได้ดังต่อไปนี้
-
ครูระดับปฐมวัย ครูการศึกษานอกระบบและครูการศึกษาพิเศษ
- นักวิชาการด้านการศึกษา
- นักการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา
- ผู้จัดโครงการส่งเสริม
พัฒนาเด็กปฐมวัยและบริการทางการศึกษา
- บุคลากรทางการศึกษาและอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น