วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

N (Planning)


N = Planning

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
        สถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษา เป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้ จึงต้องมีหลักสูตรเป็นของตนเองคือหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้าน หลักสูตรสถานศึกษาจึงประกอบด้วยมวลประสบการณ์ต่างๆที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผน
        หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสูตรที่เกิดจากการที่สถานศึกษานำสภาพต่างๆที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว nชุมชน สังคม และประเทศชาติ มากำหนดเป็นสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลาง และเพิ่มเติมสาระตามความถนัด ความสนใจของเด็กปฐมวัย โดยความร่วมมือของทุกคนในสถานศึกษาและชุมชน มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือจุดหมาย(มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์) เพื่อนำไปสู่การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาเด็ก
ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
        1. ศึกษาทำความเข้าใจเอกสารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และเอกสารหลักสูตรอื่นๆ รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัว สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
        2. ร่วมกันจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โดยมีข้อเสนอแนะเป็นแนวทางจัดทำตามหัวข้อ ดังนี้
           2.1 วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือ จุดหมาย (มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์)
           2.2 โครงสร้างหลักสูตร
               2.2.1 สาระการเรียนรู้รายปี
               2.2.2 เวลาเรียน
           2.3 การจัดประสบการณ์
           2.4 การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
           2.5 สื่อและแหล่งการเรียนรู้
           2.6 การประเมินพัฒนาการ
           2.7 การบริหารจัดการหลักสูตร
           2.8 อื่นๆ
รายละเอียดที่เสนอแนะมีดังนี้
        วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือจุดหมาย(มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์)
        วิสัยทัศน์ สถานศึกษาปฐมวัยจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์ซึ่งเป็นการคิดไปข้างหน้า เป็นอนาคตที่พึงประสงค์ เป็นภาพที่พึงปรารถนาในอนาคตที่วางอยู่บนพื้นฐานความจริง มีเอกลักษณ์เป็นของสถานศึกษาของตน ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเกิดศรัทธา/ความคิดในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั้งนี้การกำหนดวิสัยทัศน์กับนโยบายควรเป็นการกำหนดร่วมกันระหว่างบุคลากรในสถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาแสดงวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาปฐมวัยพัฒนาเด็ก วิสัยทัศน์ที่ดีต้องมีความชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษาและมีระยะเวลาที่แน่นอน
        ภารกิจ หรือ พันธกิจ สถานศึกษาปฐมวัยจำเป็นต้องกำหนดงานหลักที่สำคัญ หรือวิธีดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในระยะเวลาที่แน่นอน
        เป้าหมาย เป็นการกำหนดความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน และการดำเนินงานด้านอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับจุดหมายหรือมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖(หลักสูตรแกนกลาง) และวิสัยทัศน์ที่สถานศึกษากำหนด การกำหนดเป้าหมายสามารถกำหนดได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
        จุดหมาย หรือ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นการกำหนดความคาดหวังที่จะเกิดกับเด็กหลังจากจบหลักสูตรแล้ว ในบางกรณีอาจกำหนดรวมอยู่ในเป้าหมาย แต่ถ้าเป้าหมายกำหนดในภาพรวม อาจแยกออกมากำหนดเป็นจุดหมายต่างหากได้ ซึ่งจะมองในลักษณะที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตร กล่าวคือ เป็นจุดหมายของหลักสูตรโดยตรง การกำหนดจุดหมายหรือมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จะกำหนดโดยนำจุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง มากำหนดเป็นจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาโดยตรง และสถานศึกษาอาจกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นอีกด้วย
         มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษาทุกมาตรฐาน จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์และกำหนดตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ในแต่ละชั้นปี
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
        หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านความรู้ คุณธรรม ร่างกาย และจิตใจ หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งเน้นให้ผู้เรียน “เก่ง ดี มีสุข” ภายใต้แนวคิดที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ โดยมีหลักการที่สำคัญคือ เน้นให้หลักสูตรมีเอกภาพ เป็นไปเพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทั่วถึง สังคมมีส่วนร่วม หลักสูตรมีโครงสร้างที่สามารถปรับยืดหยุ่นได้ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
1. เก่ง
1.1. มีความสามารถตามสมรรถนะของผู้เรียน
        1.1.1. ความสามารถในการสื่อสาร
        1.1.2. ความสามารถในการคิด
        1.1.3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
        1.1.4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
        1.1.5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
1.2. มีความรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
        1.2.1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
           - กิจกรรมแนะแนว
           - กิจกรรมนักเรียน
           - กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
        1.2.2. 8 กลุ่มสาระ
           - ภาษาไทย
           - คณิตศาสตร์
           - วิทยาศาสตร์
           - สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
           - ศิลปะ
           - การงานอาชีพและเทคโนโลยี
           - ภาษาต่างประเทศ
1.3. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
        1.3.1. สาระวิชาหลัก
           - การอ่าน Reading
           - การเขียน Writing
           - การคำนวณ Arithmetic
        1.3.2. ความรู้เชิงบูรณาการ
           - โลก การเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ
        1.3.3. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
           - การคิดสร้างสรรค์
           - การแก้ไขปัญหา
           - การสื่อสาร-ร่วมงานกับผู้อื่น
        1.3.4. ทักษะชีวิตและการทำงาน
           - การปรับตัว
           - ทักษะสังคม
           - การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
        1.3.5. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี
        1.3.6. คุณลักษณะ
           - ด้านการทำงาน
           - ด้านการเรียนรู้
2. ดี
2.1. ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        2.1.1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
        2.1.2. ซื่อสัตย์ สุจริต
        2.1.3. มีวินัย
        2.1.4. ใฝ่เรียนรู้
        2.1.5. อยู่อย่างพอเพียง
        2.1.6. มุ่งมั่นในการทำงาน
        2.1.7. รักความเป็นไทย
        2.1.8. อยู่อย่างพอเพียง
3. มีสุข
3.1. ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข
        3.1.1. ภูมิใจในตนเอง
           - เห็นคุณค่าในตนเอง
           - เชื่อมั่นในตนเอง
        3.1.2. พึงพอใจในชีวิต
           - มองโลกในแง่ดี
           - มีอารมณ์ขัน
           - พอใจในสิ่งที่ตนมี
        3.1.3. มีความสงบทางใจ
           - มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
           - รู้จักผ่อนคลาย
           - มีความสงบทางจิตใจ
4. จุดมุ่งหมาย
4.1. อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา
4.2. มีความรักชาติและโลก
4.3. มีความรู้
4.4. มีสุขภาพกายและใจที่ดี
5. วิสัยทัศน์
5.1. มุ่งพัฒนาผู้เรียน
5.2. มีความสมดุลด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม
5.3. มีจิตสำนึกเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
5.4. ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย






การศึกษาในศตวรรษที่ 21คือ 3R x 7C
        บทความเรื่องทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่เขียนโดย ศ. น.พ.วิจารณ์  พานิชได้กล่าวว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย  และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
        3R  ได้แก่
Reading (อ่านออก) คือการฝึกให้เด็กอ่านออกเสียงได้อย่างชัดเจน
(W)Riting (เขียนได้) คือการฝึกกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก (กล้ามเนื้อมือ) เช่น การจับดินสอในการลากเส้น การระบายสี การปั้นดินน้ำมัน
(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) คือการฝึกทักษะการคิด การให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข
        7C ได้แก่
Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) ผลิตสื่อใหม่ๆ มาใช้อยู่เสมอ
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) เด็กได้เรียนรู้ถึงประเพณีท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่น
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) ฝึกการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม กิจกรรมหน้าเสาธง
Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) นำไอแพดมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ให้เด็กได้เรียนรู้มากขึ้นโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) พาเด็กไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
        ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น  “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม  การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้  แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ  ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)
        ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C  และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต  แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง  ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์  และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน  เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21
        การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง   และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง  ครูที่รักศิษย์  เอาใจใส่ศิษย์  แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม    จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (coach)หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท าหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning community)(วิจารณ์ พานิช, 2555, คำนำ)
        ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดหลักสอนน้อย เรียนมาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ต้องก้าวเข้าสาระวิชา
ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning)


โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา
        โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา จัดโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 โดย แบ่งออกเป็น2 ช่วงอายุ คือหลักสูตรสำหรับระดับก่อนปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า3ปี มีแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน และส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยแข็งแรงและมีสุขภาพดี สุขภาพจิตดี มีความสุข มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสาร สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของเด็กแต่ละคน เพื่อเตรียมความพร้อมและบ่มเพาะคุณภาพวัยเริ่มต้นชีวิต Bhadungsit Kindergarten for the best start in your life. พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ Developing each child’s talent.
        อนุบาลผะดุงศิษย์พิทยา มุ่งปลูกฝังและวางรากฐานการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างรสนิยม  สุนทรียภาพ  คุณภาพวัยต้นชีวิต ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนสอนระดับปฐมวัยตามหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัยปีพ.ศ.2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ คือ
        ด้านร่างกาย เน้นการพัฒนาการตระหนักรู้ เกี่ยวกับร่างกายตนเอง (self-awareness) คือการเคลื่อนไหวโดยควบคุมตนเองไปในทิศทางระดับและพื้นที่
        ด้านอารมณ์ จิตใจ เน้นอัตลักษณ์เฉพาะตน และเชื่อว่าตนเองมีความสามารถและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
        ด้านสังคม เน้นการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นไทย การมีวินัย การยอมรับในความเหมือนและแตกต่าง ระหว่างบุคคล
        ด้านสติปัญญา เน้นการพัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การคิดแก้ปัญหา และตัดสินใจการใช้ภาษาในการเรียนรู้
        อนุบาลผะดุงศิษย์พิทยาปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ 3R และ 8C ได้แก่
        3R คือ
        Reading – อ่านออก
        (W)Riting – เขียนได้
        (A)Rithmatic - มีทักษะในการคำนวณ
        8C คือ
        Critical Thinking and Problem Solving : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้
        Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
        Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
        Communication Information and Media Literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
        Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
        Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี
        Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
        Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย
        จุดเน้นสำคัญของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอน คือ การเรียนรู้แบบ active learning โดยนักเรียนจะลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการบูรณาการผ่านการเล่น มีเป้าหมายคือ "เป็นคนดี มีวินัย มีปัญญา และมีความสุข"
        เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลดังกล่าว อนุบาลผะดุงศิษย์พิทยาจึงได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสริมทักษะวิชาการและพัฒนากระบวนความคิด อันได้แก่ กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ กิจกรรมคณิตศาสตร์ กิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษาซึ่งมีความสามารถในการสอนภาษาอังกฤษผ่าน กิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาซึ่งจะเน้นจัดการเรียนรู้แบบ active learning ร่วมกับกิจกรรมหลัก คือกิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ เกมการศึกษา กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสรี และ กิจกรรมสร้างสรรค์ มีการปลูกฝังและเสริมสร้างรสนิยม  สุนทรียภาพ  ด้วยการสอนดนตรี นาฏศิลป์ บัลเลต์ ศิลปะ คอมพิวเตอร์  โดยครูที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะทาง มีการส่งเสริมสุขภาพพลานามัยด้วยการสอนว่ายน้ำ เทควันโด การทดสอบสมรรถภาพทางกาย และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม และปลูกฝังให้นักเรียนเกิดพัฒนาการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะในด้านต่างๆ เช่น กิจกรรมSTEM ( SCIENCE TECHNOLOGY ENGINEER MATHEMATICS ) กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ กิจกรรมละครภาษาอังกฤษ กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมเอกลักษณ์ไทย เป็นต้น
        อนุบาลผะดุงศิษย์พิทยา จัดการศึกษาออกเป็น 2 โครงการ คือ โครงการภาษาอังกฤษ และโครงการสามัญ โครงการภาษาอังกฤษ นักเรียนจะได้เรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษาทุกวัน ส่วนโครงการสามัญนักเรียนจะได้เรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษาสัปดาห์ละ 1 วัน ในชั้นเรียนของอนุบาลจะจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีครูประจำชั้น 1 คน และครูพี่เลี้ยง 1 คน ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและดูแลนักเรียน ซึ่งมีจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 20 คน ควบคุมการสอนโดยอาจารย์หญิง สุมน M.S.(Early  Childhood  Education) USA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น